Logo-สำนักงานบัญชี-ARAC
Transfer Pricing คืออะไร ธุรกิจจะทำอย่างไร เมื่อถูกตรวจสอบ
อัปเดตล่าสุด : 31/05/2023
ใคร!!! ทำอย่างไร? เมื่อถูกตรวจสอบประเด็น TRANSFER PRICING

       Transfer Pricing คือ การที่คู่สัญญาทำธุรกรรมระหว่างกัน โดยได้กำหนดราคาซื้อ-ขาย สินค้าหรือให้บริการที่แตกต่างไปจากราคาตลาด หรือ Arm's Length Price

       Arm's Length Price คือ ข้อตกลงทางธุรกิจที่ผู้ซื้อและผู้ขายดำเนินการอย่างอิสระ โดยไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอิทธิพลต่ออีกฝ่ายหนึ่ง การขายประเภทนี้เป็นการยืนยันว่าทั้งสองฝ่ายดำเนินการเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและไม่ได้รับแรงกดดันจากอีกฝ่าย นอกจากนี้ยังให้ความมั่นใจกับผู้อื่นว่าไม่มีการสมรู้ร่วมคิดระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เพื่อความยุติธรรม ทั้งสองฝ่ายมักจะมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงอย่างเท่าเทียมกัน

ธุรกิจจะทำอย่างไร เมื่อถูกตรวจสอบ

       ตามมาตรา 71 ตรี วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ระบุไว้ว่า “ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน เจ้าพนักงานประเมินโดยอนุมัติอธิบดี อาจส่งหนังสือแจ้งความแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ยื่นเอกสารหรือหลักฐานแสดงข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์ข้อกำหนดของธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตามที่อธิบดีประกาศกำหนด และผู้ได้รับหนังสือแจ้งความต้องปฏิบัติตามภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความเว้นแต่กรณีที่มีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถปฏิบัติตามก าหนดเวลาดังกล่าวได้ อธิบดีจะอนุญาตให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 120 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความ ทั้งนี้เฉพาะกรณีที่ได้รับหนังสือแจ้งความเป็นครั้งแรก ให้ผู้ได้รับหนังสือแจ้งความต้องปฏิบัติตามภายในหนึ่ง 180 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความนั้น

       หลักเกณฑ์เกณฑ์ของกรมสรรพากรในการคัดเลือกบริษัทฯ เพื่อแจ้งให้นำส่งเอกสารเพื่อทำการตรวจสอบการกำหนดราคาของธุรกรรมระหว่างกัน Transfer Pricing Audit

ตัวอย่างความเสี่ยง ที่อาจเป็นมูลเหตุให้กรมสรรพากรเรียกตรวจสอบการกำหนดราคาของธุรกรรมระหว่างกัน Transfer Pricing Audit

        - บริษัทฯ ประกอบกิจการขาดทุนต่อเนื่องกันหลายปี
        - มีผลประกอบการกิจการไม่สม่ำเสมอ เช่น กำไรปีแรกปีที่สองขาดทุนสลับกันไป ไม่มีภาษีชำระในรอบหลายปี
        - มีกำไรสุทธิต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม
        - ประกอบกิจการมีผลขาดทุน หลังจากหมดระยะเวลาการได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
        - มีการเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจ และทำให้มีผลกำไรสุทธิลดลงหรือขาดทุน ทำให้เสียภาษีน้อยลงหรือไม่ได้ชำระภาษี
        - มีรายจ่ายค่าบริหารจัดการ ค่าสิทธิ ที่จ่ายให้แก่บริษัทที่มีความสัมพันธ์กันเป็นจำนวนเงินที่มาก หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ๆ
        - ไม่มีเอกสาร หลักฐาน หรือสัญญา ที่กำหนดเงื่อนไขราคา หรือธุรกรรมระหว่างกันของบริษัทในกลุ่ม

 

ทำอย่างไร? เมื่อถูกเรียกให้นำส่งเอกสารและถูกตรวจสอบประเด็น Transfer Pricing

       บริษัทฯ ต้องจัดทำเอกสาร หลักฐานแสดงข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์ข้อกำหนดของธุรกรรมระหว่างกัน ซึ่งรายละเอียดที่ควรมีในเอกสารดังกล่าว ปรากฏอยู่ในคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 113/2545 ข้อ 4 ซึ่งมีอยู่ 10 ข้อ (ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายหรือคำสั่งใด ๆ ออกมายกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง) แต่ความยากของการจัดทำเอกสาร (Transfer Pricing Documentation) คือ ต้องชี้แจงและแสดงให้เห็นว่าวิธีการกำหนดราคาของบริษัท เป็นราคาที่บริษัทอิสระพึงกำหนดกันถูกต้องแล้ว (Arm’s Length Price) ดังนั้นวิธีการที่จะพิสูจน์ คือการหาตัวเปรียบเทียบ ซึ่งค่อนข้างละเอียดและซับซ้อน ต้องอาศัยความชำนาญ ความรู้ทางธุรกิจและบัญชีเป็นหลัก กรณีของ Transfer Pricing Audit จึงเป็นเรื่องระหว่างบริษัทกับเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรที่มีความเห็นต่างกัน และไม่เห็นด้วยกันในหลายประเด็น ดังนั้นการจะจบประเด็นการตรวจสอบ คงต้องอาศัยข้อมูล และประสบการณ์ในการวิเคราะห์ เจรจาด้วยเหตุและผล

 

 

 

อ้างอิงข้อมูลจาก : นางสันทนา ศักดิ์สุทธยาคม กรรมการในคณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการบัญชีภาษีอากร

(https://www.tfac.or.th)

บริการ
ข่าว
Copyright © 2025 A.R. Accounting & Consultant Co., Ltd. All Right reserved. Privacy Notice  Privacy Policy  Cookies Policy