
เงินทดแทนการขาดรายได้ ประกันสังคม จ่ายชดเชยกรณีใดบ้าง
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33
สามารถยื่นขอเงินทดแทนการขาดรายได้จากประกันสังคมได้ โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้
ผู้ประกันตนมาตรา 33 ดาวน์โหลดแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01) ได้ที่เว็บไซต์ sso.go.th
สำหรับประกันสังคมมาตรา 39
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน และปีละไม่เกิน 180 วัน โดยให้ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01) โดยมีเอกสารสำหรับยื่นขอเงินทดแทนการขาดรายได้จากประกันสังคม มีดังนี้
สามารถดาวน์โหลดแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01) ได้ที่เว็บไซต์ sso.go.th
สำหรับประกันสังคมมาตรา 40
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 จะได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1-2-3 โดยต้องนำส่งสมทบมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย โดยให้ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01/ม.40) เอกสารสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 ยื่นขอเงินทดแทนการขาดรายได้จากประกันสังคม มีดังนี้
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนผู้ประกันตนมาตรา 40 (สปส. 2-01/ม.40)
- บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา
- ใบรับรองแพทย์ตัวจริง หรือ สำเนาเวชระเบียน (ต้องให้เจ้าหน้าที่เวชระเบียนเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมประทับตราสถานพยาบาล)
- สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์
สามารถดาวน์โหลดแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01/ม.40) ได้ที่เว็บไซต์ sso.go.th
สำหรับเงินชดเชยการขาดรายได้จะถูกโอนเข้าบัญชีผู้ยื่นคำขอเมื่อไหร่? ทางประกันสังคมให้คำตอบไว้ว่า ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ยื่นขอ โดยเจ้าหน้าที่จะพิจารณาคำขอตามลำดับ หากยื่นขอช้าประกอบกับมีผู้ยื่นเรื่องจำนวนมาก เงินก็อาจโอนล่าช้าได้ ฉะนั้นถ้ายื่นเอกสารครบ เงื่อนไขสมบูรณ์ ก็จะได้รับอนุมัติและได้รับหนังสือแจ้งผล พร้อมเงินตัดเข้าบัญชีภายใน 5 – 7 วันทำการ