Logo-สำนักงานบัญชี-ARAC
เตรียมปรับฐานผู้ประกันตนมาตรา 33 ใหม่ จากเดิมสูงสุด 15,000 เป็น 17,500 ในปี 2567
Date : 10/02/2023

กระทรวงแรงงาน เตรียมปรับกำหนดค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานสำหรับคำนวณจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ม.33 ใหม่

กระทรวงแรงงาน เตรียมปรับกำหนดค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานสำหรับคำนวณจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ม.33 ใหม่

ก่อนจะมีการปรับฐานคำนวณจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมใหม่ ทางกระทรวงแรงงานได้เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ผ่านเว็บไซต์ระบบกลางกฎหมาย law.go.th โดยจะปิดรับฟังความคิดเห็นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวจะเปลี่ยนกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้คำนวณเงินสมทบกองทุนของผู้ประกันตน ม.33 จากเดิมฐานค่าจ้างขั้นสูง 15,000 บาท แบบค่อยเป็นค่อยไป เป็นสูงสุดที่ 23,000 บาท จะเริ่มในปี 2573 เป็นต้นไป

สรุปเตรียมปรับฐานผู้ประกันตนมาตรา 33 ใหม่ จากเดิมสูงสุด 15,000 อย่างไรบ้าง?

- จะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567
- กำหนดขั้นต่ำและขั้นสูง ฐานในการคำนวณเงินสมทบ ม.33 ดังต่อไปนี้
  • พ.ศ. 2567-2569 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 17,500 บาท
  • พ.ศ. 2570-2572 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 20,000 บาท
  • พ.ศ. 2573 เป็นต้นไป จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 23,000 บาท

จากข้อมูลการปรับเพดานค่าจ้างขึ้น จะทำให้ผู้ประกันตน ม.33 ที่จ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 5% ต้องจ่ายเงินสมทบมากขึ้นจากเดิม ดังนี้

  • ปัจจุบัน – พ.ศ. 2566 เพดานสูงสุดอยู่ที่ 750 บาท/เดือน
  • พ.ศ. 2567-2569 จะปรับเพดานไปเป็น 875 บาท/เดือน
  • พ.ศ. 2570-2572 จะปรับเพดานเป็น 1,000 บาท/เดือน
  • พ.ศ. 2573 เป็นต้นไป จะปรับเพดานเป็น 1,150 บาท/เดือน

จากอัตราการจ่ายเงินสมทบที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบกับผู้มีรายได้เกิน 15,000 จากเดิมที่จ่ายสูงสุดอยู่ที่ 750 บาท ก็จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้น ส่วนผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าจะไม่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตามการปรับเพดานเพิ่มขึ้น ผู้ประกันตนจะได้รับประโยชน์ทดแทนที่เพิ่มขึ้นด้วย

  • เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
  • เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ 70% หรือ 30% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
  • เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
  • เงินสงเคราะห์กรณีตาย 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
  • เงินทดแทนการขาดรายได้ในกรณีว่างงาน 50% หรือ 30% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
  • เงินบำนาญชราภาพ ไม่ต่ำกว่า 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่นำส่งเข้ากองทุน โดยผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบ 15 ปี จะได้รับบำนาญ 20% ของค่าจ้าง ส่วนผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบมากกว่า 15 ปี จะได้รับบำนาญเพิ่มอีก 1.5% ทุกการส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน

 

ที่มา : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

บริการ
ข่าว
Copyright © 2024 A.R. Accounting Consultant Co., Ltd. All Right reserved. Privacy Notice  Privacy Policy  Cookies Policy