Logo-สำนักงานบัญชี-ARAC
ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ : 5 เงื่อนไขใช้หักลดหย่อนการอุปการะคนพิการและคนทุพพลภาพ
Date : 23/02/2023

สำหรับภาษีเงินได้ฯ (ภ.ง.ด.90, ภ.ง.ด.91) กรณีการหักลดหย่อนการอุปการะเลี้ยงดูคนพิการและคนทุพพลภาพ

 

หลายคนคงทราบกันดีแล้วสำหรับค่าลดหย่อนในแต่ละกรณีที่มีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป ไม่ใช่ว่าอยู่ ๆ แล้วจะสามารถใช้รายการลดหย่อนนั้นได้เลย เพราะบางกรณีก็มีรายละเอียดและเงื่อนไขอื่น ๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะกับค่าลดหย่อนการอุปการะเลี้ยงดูคนพิการและคนทุพพลภาพที่มีเงื่อนไขอื่น ๆ อีกมากมาย ถึงแม้ว่าผู้มีเงินได้จะสามารถหักค่าลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพได้คนละ 60,000 บาท ซึ่งมี 5 เงื่อนไข ดังนี้

เงื่อนไขที่ 1 : ความสัมพันธ์กับผู้มีเงินได้

(1) เป็นบิดามารดาของผู้มีเงินได้

(2) เป็นบิดามารดาของสามีหรือภรรยาของผู้มีเงินได้

(3) เป็นสามีหรือภรรยาของผู้มีเงินได้

(4) เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้

(5) เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภรรยาของผู้มีเงินได้

(6) เป็นบุคคลอื่นที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับผู้มีเงินได้ตามข้อ (1)–(5) แต่ผู้มีเงินได้เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู ผู้มีเงินได้ ในกรณนี้สามารถนำมาลดหย่อนได้ 1 คน

เงื่อนไขที่ 2 : หลักเกณฑ์และองค์ประกอบการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ

หลักเกณฑ์การเป็นคนพิการที่ผู้มีเงินได้จะหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการได้ มีดังนี้

(1) คนพิการต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

(2) เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้มีเงินได้ตามเงื่อนไขที่ 1

(3) ผู้มีเงินได้เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู และมีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการ

(4) คนพิการมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาท ในปีภาษีที่ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิหักลดหย่อน (ไม่รวมเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42)

(5) คนพิการต้องมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก

(6) กรณีคนพิการมีผู้อุปการะเลี้ยงดูหลายคน ใครเป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อนนั้น ให้ดูว่าผู้มีเงินได้คนใดมีชื่อเป็นผู้ดูแลในบัตรประจำตัวคนพิการ ผู้มีเงินได้คนนั้นเป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อน

เงื่อนไข่ที่ 3 : หลักเกณฑ์และองค์ประกอบการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ

กรณีคนทุพพลภาพที่ผู้มีเงินได้ซึ่งอุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพจะนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ต้องมีองค์ประกอบดังนี้

(1) ต้องมีใบรับรองแพทย์ที่ตรวจ และแสดงความเห็นว่าบุคคลนั้น มีภาวะจำกัดหรือขาดความสามารถ ในการประกอบกิจวัตรหลักอันเป็นปกติ เยี่ยงบุคคลทั่วไปอันเนื่องมาจากสาเหตุทางปัญหาสุขภาพ หรือความเจ็บป่วยที่เป็นต่อเนื่อง มาไม่น้อยกว่า 180 วัน หรือทุพพลภาพ มาแล้วไม่น้อยกว่า 180 วัน

(2) บุคคลทุพพลภาพต้องมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาท ในปีภาษีที่ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิ หักลดหย่อน (ไม่รวมเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42)

(3) บุคคลทุพพลภาพต้องมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก

(4) ผู้มีเงินได้ต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ

(สำหรับคนทุพพลภาพ) เงื่อนไขที่ 4 : การรับรองและหลักฐานกรณีคนทุพพลภาพ

กรณีคนทุพพลภาพที่ผู้มีเงินได้อุปการะเลี้ยงดูจะนำมาหักลดหย่อนได้ หลักฐานที่แสดงว่าเป็นคนทุพพลภาพคือ ใบรับรองแพทย์

กรณีหักลดหย่อนคนทุพพลภาพ นอกจากหลักฐานใบรับรองแพทย์แล้ว ผู้มีเงินได้ต้องมีหนังสือรับรอง การเป็นผู้อุปการะ เลี้ยงดูคนพิการ ที่รับรองว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ

ผู้รับรองต้องมีความสัมพันธ์กับคนทุพพลภาพดังนี้

(1) สามี ภริยา               

(2) บุตรชอบด้วยกฎหมาย บุตรบุญธรรม หรือหลาน

(3) บิดามารดา              

(4) ปู่ย่าตายาย              

(5) ลุงป้าน้าอา

(6) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

ผู้รับรองอาจเป็นบุคคลอื่นก็ได้ซึ่งได้แก่

(1) กำนันผู้ใหญ่บ้าน ในท้องที่ที่บุคคลทุพพลภาพอยู่อาศัย

(2) บุคคลที่เป็นสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในท้องที่ที่บุคคลทุพพลภาพอยู่อาศัย

เงื่อนไขที่ 5 : การใช้สิทธิและหลักฐานการหักลดหย่อน

(1) การหักค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือคนทุพพลภาพให้หักได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้น จะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่

(2) กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพได้เฉพาะคนพิการ หรือคนทุพพลภาพที่เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย

(3) กรณีผู้มีเงินได้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ และคนพิการดังกล่าวก็ยังเป็นผู้ทุพพลภาพด้วยการใช้สิทธิหักค่าลดหย่อน ให้หักได้ในฐานะเป็นคนพิการฐานะเดียว

(4) หลักฐานในการหักค่าลดหย่อน ผู้มีเงินได้ที่ใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ

 

บริการ
ข่าว
Copyright © 2024 A.R. Accounting Consultant Co., Ltd. All Right reserved. Privacy Notice  Privacy Policy  Cookies Policy