รายได้ คือ รายได้หรือเงินที่ได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการ แต่ถ้ารายได้ที่หักค่าใช้จ่ายแล้วจะไม่ใช่รายได้ แบบนั้นเรียกว่ากำไร ซึ่งการทำธุรกิจไม่ว่าเล็กหรือใหญ่หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้จะต้องปฏิบัติตามอย่างการจด VAT หากธุรกิจมีรายได้ถึง 1,800,000 บาท ผู้ประกอบการจะต้องจด VAT
แล้วแบบนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่ารายได้จากตรงไหนที่เอามารวมบ้าง? รายได้จำนวน 1.8 ล้านบาท จะดูเป็นรายปีไม่ได้เอารายได้ทั้งหมด ซึ่งวิธีการนับว่ารายได้เกิน 1.8 ล้านบาทไหม สามารถดูได้ตามนี้
- รายได้ที่ยกเว้น VAT ไม่ต้องนำมานับรวม
- รายได้ที่ไม่ยกเว้น VAT อันนี้ต้องเอามารวมทั้งหมด
ยกตัวอย่าง รายได้จากการทำงานประจำ มีเงินเดือน รายได้ทั้งหมด 500,000 บาท และมีอาชีพเสริมจากการขายของทางออนไลน์ 1.4 ล้านบาท ในกรณีนี้ให้ดูที่รายได้จากการขายของออนไลน์ว่าเกิน 1.8 ล้านบาทหรือไม่ ไม่ต้องนำเงินเดือนมารวม เพราะว่าเงินเดือนเป็นรายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่
- ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
- ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
- การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน
- การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร
หากรายได้เกิน 1.8 ล้านแล้วต้องทำอย่างไร
- ต้องรีบทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ยื่นแบบ ภ.พ.01) ภายใน 30 วัน นับจากวันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ซึ่งหากถ้าใครรู้ตัวเร็วรีบยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ก่อนได้เลย
- หลังจากที่ทางกรมสรรพากรอนุมัติแล้ว ธุรกิจก็จะเข้าสู่ระบบ VAT ทันที ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทุก ๆ เดือน นับตั้งแต่วันที่อนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการภาษีมูลเพิ่ม
- ถ้ารายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ไม่มีหน้าที่ต้องจด (เพราะกฎหมายยกเว้น) แต่หากต้องการจดก็สามารถที่จะขอจดได้เหมือนกัน
- ถ้าหากเกิน 1.8 ล้านบาทแล้วยังไม่จด VAT ก็จะต้องเสียเบี้ยปรับ 2-20% (ขึ้นอยู่กับกรณี) และเงินเพิ่ม (ดอกเบี้ย) 1.5% ตามจำนวนเวลาที่จดทะเบียนล่าช้า และอาจจะเสียค่าปรับตามกฎหมายด้วย