ทำอย่างไรไม่ให้เจอใบกำกับภาษีปลอม
ทำอย่างไร? ไม่ให้เจอใบกำกับภาษีปลอม
รู้หรือไม่? กรมสรรพากร ดำเนินการจัดการกับใบกำกับภาษีปลอมมาเป็นระยะเวลาหลายปี โดยมีการดำเนินคดีด้วยกฎหมาย 2 มาตราด้วยกัน ได้แก่ทางแพ่งมาตรา 89 (7) และทางอาญามาตรา 90/4 ซึ่งได้ระบุไว้ว่า
(7) หากผู้ประกอบการ กระทำโดยเจตนานำใบกำกับภาษีปลอม หรือใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปใช้ในการเครดิตภาษี
การพิจารณาว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม ตามมาตรา 89 (7) และมาตรา 90/4 มีดังนี้
มาตรา 89 (7)
- ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษี
- สถานประกอบการที่ระบไว้ตอนจดทะเบียนธุรกิจ ไม่มีการประกอบกิจการจริง
มาตรา 90/4
- เป็นผู้ประกอบการที่นำใบกำกับภาษีปลอม หรือใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบไปใช้ในเครดิต
- เป็นการกระทำโดยเจตนา
ทำอย่างไรไม่ให้เจอใบกำกับภาษีปลอม
- ไม่ควรซื้อสินค้าราคาถูกเกินไปหรือราคาต่ำกว่าตลาด โดยไม่มีอะไรมายืนยันได้หรือไม่มีเหตุผลที่ควรจะซื้อจริง ๆ
- ตรวจสอบรายการสินค้า ควรตรวจสอบรายการสินค้าในใบกำกับภาษีก่อนทุกครั้งที่ซื้อขายว่าตรงตามที่ซื้อหรือไม่
- ติดต่อซื้อขายสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการที่เคยทำการซื้อขายร่วมกันมาก่อน หรือผู้ประกอบการจดทะเบียนเต็มรูปแบบ
- สํารวจธุรกิจของคุณว่ามีความเสี่ยงต่อการที่จะได้รับใบกำกับภาษีปลอมหรือไม่
- ประเภทกิจการ เป็นกิจการที่จะไม่มีใบเสร็จ หรือใบกำกับภาษีมาเป็นค่าใช้จ่ายหรือกำไรในการประกอบกิจการสูง ส่วนมากจะเป็นกิจการให้บริการ เช่นธุรกิจรับเหมา รับจ้าง ให้บริการอู่ซ่อมรถยนต์ ขายวัสดุก่อสร้าง ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ
- การจ่ายเงินค่าสินค้า ค่าบริการ ถ้ามีการจ่ายเป็นเงินสดหรือเช็คเงินสดแต่ละครั้งเกิน 50,000 บาท โอกาสที่จะใช้ใบกำกับภาษีปลอมมีมาก
- หากมีการจ่ายเป็นเงินสดในสัดส่วน ที่เกิน 20% ของการจ่ายเงินทั้งหมด ก็มีโอกาสเสี่ยงในการใช้ใบกำกับภาษีปลอม
- สถานประกอบการ ถ้าสถานประกอบกิจการเป็นบ้านเช่าอยู่อาศัย ไม่มีลักษณะเป็นสถานประกอบการ ก็เป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นว่าตัวตนของผู้ประกอบการไม่ได้อยู่จริง หรือประกอบกิจการจริง
วิธีสังเกตุใบกำกับภาษี ว่าเสี่ยงเป็นใบกำกับภาษีปลอมหรือไม่
ใบกำกับภาษีมีความสำคัญอย่างมากที่ผู้เสียภาษีนำมาเป็นหลักฐานในการเครดิตหรือขอคืนภาษี และเปรียบเสมือนเป็นหลักฐานทางการเงิน หากใบกำกับภาษีไม่ถูกต้อง ผู้เสียภาษีนำมาขอเครดิตหรือขอคืนภาษีแล้ว จะทำให้รัฐเกิดความเสียหาย ในการเก็บภาษีเข้ารัฐ
ดังนั้นการปลอมใบกำกับภาษี จึงเป็นการจงใจเจตนา ที่ต้องการหลีกเลี่ยงภาษีและมีความผิดร้ายแรง ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีผู้เสียภาษีบางกลุ่มที่ยังใช้ใบกำกับภาษีปลอม ทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจต้องติดตามหรือตรวจให้พบ หรือป้องกันไม่ให้ผู้เสียภาษีนำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้
ARAC : ที่ปรึกษาวางแผนภาษีอากร