Logo-สำนักงานบัญชี-ARAC
คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย อย่างไรให้ถูกต้อง  
Date : 04/09/2023
การออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะมีวิธีการคำนวนที่แตกต่างกัน มาดูวิธีการคำนวณได้ต่อไปนี้
 

การคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ในเอกสารหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย จะมีให้เลือกหลายกรณีด้วยกัน โดยกรณีปกติลูกค้าจะยอมหักภาษี ณ ที่จ่าย กันอยู่แล้วเราก็จะคำนวณแบบปกติทั่วไป แต่ถ้าผู้ให้บริการไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย อยากจ่ายเงินเต็มจำนวนเราต้องออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้ ฉะนั้นเราจะคำนวณแบบปกติไม่ได้ ต้องมีวิธีคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับกรณีนี้

 

ตามหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย จะมีให้ผู้ประกอบการเลือกว่าผู้จ่ายเงินแบบใด

  • หัก ณ ที่จ่าย
  • ออกให้ตลอดไป
  • ออกให้ครั้งเดียว
  • อื่น ๆ (ระบุ)

 

วิธีการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในกรณีออกให้ตลอดไป และออกให้ครั้งเดียว

 

ออกให้ตลอดไป       

 ใช้สูตรคำนวณ    =  จำนวนเงินได้ที่จ่าย x อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย

                                                (100 - อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย)

ตัวอย่าง

จ่ายค่าเช่าออฟฟิศ จำนวน 10,000 บาท

(อัตราการจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องหัก 5% ภาษีออกให้ตลอดไป)

 

วิธีคำนวณ

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกให้ตลอดไป        10,000x5/(100-5)                                 526.32  บาท                                                       

เงินได้ที่ถือเป็นฐานในการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย (10,000+526.32)       10,526.32 บาท

คูณอัตราภาษี 5% จะได้ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (10,526.32x5%)                           526.32 บาท 

 

ภาษีที่ออกแทนให้ ผู้รับเงินค่าจ้างต้องถือรวมเป็นเงินได้ ดังนั้นในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องกรอกเงินได้ 10,526.32 บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 526.32 บาท

จำนวนเงินที่ผู้ให้เช่าจะได้รับจริง = 10,526.32 – 526.32 = 10,000 บาท

 

 

 

 

 

 

 

ออกให้ครั้งเดียว       

      สูตรคำนวณ    =  จำนวนเงินได้ที่จ่าย + ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ออกให้ครั้งเดียว x อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย

                                               

ตัวอย่าง

จ่ายค่าเช่าออฟฟิศ จำนวน 10,000 บาท

(ต้องหัก ณ ที่จ่าย 5% ภาษีออกให้ครั้งเดียว)

 

วิธีการคำนวณ

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามอัตราปกติ        10,000x5%                                             500.00  บาท                                                       

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกให้ครั้งเดียว      (10,000+500)x5%                               525.00 บาท

เงินได้ที่ถือเป็นฐานในการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย     (10,000+500)          10,500.00 บาท

เมื่อคูณอัตราภาษี 5% จะได้ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (10,500x5%)                            525.00 บาท 

 

ดังนั้นในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องกรอกเงินได้ 10,500.00 บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 525.00 บาท

จำนวนเงินที่ผู้ให้เช่าจะได้รับจริง = 10,500 – 525 = 9,975.00 บาท

*** กิจการออกภาษีให้ครั้งเดียว 500 บาท ส่วนอีก 25 บาท กิจการต้องหักจากผู้ให้เช่า

 

 

สรุปการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่ละประเภท

ค่าเช่า 10,000 บาท และต้องการหักภาษี ณ ที่จ่าย 5%

 

                                                            ค่าเช่า               ภาษีหัก ณ ที่จ่าย             ผู้ให้บริการได้รับเงิน

หัก ณ ที่จ่าย                                           10,000.00                    500.00                       9,500.00

ออกให้ครั้งเดียว                                     10,500.00                       525.00                        9,975.00

ออกให้ตลอดไป                                     10,526.32                    526.32                       10,000.00 **

 

 

** คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายแบบ ออกให้ตลอดไป ผู้ให้เช่าจะได้รับเงินเต็มจำนวนตามค่าเช่าที่ต้องการ

 

บริการ
ข่าว
Copyright © 2024 A.R. Accounting Consultant Co., Ltd. All Right reserved. Privacy Notice  Privacy Policy  Cookies Policy