ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้มีเงินได้ที่มีภาระค่าใช้จ่ายส่วนตัวและครอบครัว โดยค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวจะช่วยลดภาระภาษีของผู้มีเงินได้ ทำให้ผู้มีเงินได้มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น และสามารถนำรายได้สุทธิไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเพียงพอ มาดูกันว่าค่าลดหย่อนส่วนตัวที่พูดถึงนั้นมีอะไรบ้าง เผื่อบางคนพึ่งเคยยื่นภาษีครั้งแรก
ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัวมีอะไรบ้าง?
1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว : ลดหย่อนได้ 60,000 บาท สามารถลดหย่อนภาษีได้เต็ม ๆ โดยไม่มีเงื่อนไขอะไรเพิ่มเติม
2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส : ลดหย่อนได้ 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายและคู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้ (ได้สูงสุด 1 คน)
กรณีอื่น ๆ :
- กรณีจดทะเบียนสมรสระหว่างปี, คู่สมรสตายระหว่างปี หรือหย่าระหว่างปี สามารถหักลดหย่อนคู่สมรสได้
- กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในไทย (180 วัน) สามารถนำสามีหรือภริยาที่อยู่ต่างประเทศมาหักลดหย่อนได้
- กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในไทย ให้หักลดหย่อนเฉพาะคู่สมรสและบุตรที่อยู่ในไทยถึง 180 วันเท่านั้น
3. ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร : ลดหย่อนได้ตามจริง รวมสูงสุดไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท
เงื่อนไข :
- จ่ายให้กับสถานพยาบาลของรับหรือเอกชน
- ตั้งครรภ์ลูกแฝดถือเป็น 1 ครรภ์
- กรณีสามีและภรรยา เป็นผู้มีเงินได้เหมือนกันให้ภรรยาใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร
- หากสามีต้องการใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ภรรยาต้องไม่มีรายได้ ถึงจะใช้สิทธิลดหย่อนนี้ได้
รายการอะไรบ้างที่นำมาลดหย่อนภาษีสำหรับการตั้งครรภ์และคลอดบุตร
- ค่าตรวจครรภ์
- ค่าฝากครรภ์
- ค่ายาและค่าเวชภัณฑ์
- ค่าบำบัดทางการแพทย์
- ค่าทำคลอด
- ค่าพักฟื้นในโรงพยาบาล
- ค่าขูดมดลูก (ในกรณีแท้งบุตร)
4. ค่าลดหย่อนบุตร : บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้ หรือของคู่สมรสลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท
เงื่อนไข :
- เป็นผู้เยาว์อายุไม่ถึง 20 หรือผู้มีอายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษา (ระดับอนุปริญญาหรือปริญญาตรีขึ้นไป) รวมถึงการศึกษาในหลักสูตรเนติบัณฑิต หรือเป็นผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
- ต้องเป็นบุตรโดยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว
- สามารถหักลดหย่อนบุตรได้ไม่จำกัดจำนวน ถ้าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย มีชีวิตอยู่ และอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ได้รับการหักลดหย่อน
- บุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาท แต่รวมกันได้ไม่เกิน 3 คน
- บุตรต้องไม่มีเงินได้ในปีภาษีนั้น ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป (ไม่รวมถึงเงินที่ได้รับการยกเว้นในมาตรา 42)
- บุตรต้องอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้
- กรณีผู้มีเงินได้ไม่ได้อยู่ในไทย หักลดหย่อนได้เฉพาะบุตรที่อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันเท่านั้น
- กรณีผู้มีเงินได้อยู่ในไทย ให้หักลดหย่อนบุตรได้ไม่ว่าบุตรจะอยู่ในไทยหรืออยู่ต่างประเทศ
5. ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส : ลดหย่อนได้จำนวนคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน รวมแล้วสามารถลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท
เงื่อนไข :
- ต้องไม่ใช่พ่อแม่บุญธรรม
- อายุมากกว่า 60 ปี อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ แต่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกัน
- มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท
- ไม่สามารถใช้สิทธิซ้ำระหว่างพี่น้องได้ ควรแบ่งกันให้ดี
- ผู้มีเงินได้ต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดา
- บุตรบุญธรรม ไม่สามารถหักลดหย่อนบิดามารดาบุญธรรมได้
- หากผู้มีเงินได้ไม่ได้อยู่ในไทย ให้หักลดหย่อนได้เฉพาะบิดามารดาที่อยู่ในไทย
- มีหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (แบบ ล.ย.03) เป็นภาษาไทย
6. ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ : ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
เงื่อนไข :
- ผู้พิการต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
- มีบัตรประจำตัวผู้พิการ
- หนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ
รายการลดหย่อนภาษีอื่น ๆ คลิก!!