การจ่ายเงินปันผลเมื่อบริษัทมีกำไร ต้องทำอย่างไรบ้าง
สำหรับใครที่อยู่ในวงการของนักลงทุน คงจะยินกับคำว่าเงินปันผลกันเป็นอย่างดี การจ่ายเงินปันผลนั้นเป็นการจ่ายผลตอบแทนจากกำไรของบริษัทให้แก่นักลงทุนที่ได้ลงทุนกับบริษัท ตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ถือ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1) เงินปันผลประจำปี เป็นการประกาศจ่ายเงินหลังจากปิดงบประจำปีซึ่งจะจ่ายได้เมื่อมีมติจากที่ประชุมสามัญประจำปี
2) เงินปันผลระหว่างกาล เงินปันผลที่กรรมการบริษัทมีมติจ่ายในระหว่างรอบปีบัญชีิ ในกรณีที่ดำเนินงานมีกำไรมากกว่าปกติ (เงินปันผลต้องจ่ายจากกำไรเท่านั้น)
เงินปันผลต้องจ่ายภาษีไหม?
เมื่อได้รับเงินปันผลแล้วจะต้องมีการเสียภาษี ผู้ที่ได้รับเงินปันผลจะมี 2 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนของบุคคลธรรมดา
2. ส่วนของนิติบุคคล ต้องทำการเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ร้อยละ 10 จากเงินปันผลที่ได้รับ ซึ่งมีการเสียภาษี ถึง 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ครั้งที่2 คือ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
(ผู้ถือหุ้นสามารถเสียภาษีเพียงชั้นเดียว โดยใช้เครดิตภาษีเงินปันผลได้)
บริษัทมีกำไร แต่ไม่จ่ายเงินปันผลได้ไหม?
กรณีบริษัทที่เข้าเงื่อนไขมีกำไร แต่ไม่ต้องจ่ายเงินปันผลมีดังนี้
- บริษัทต้องการนำกำไรที่เกิดขึ้นไปพัฒนาต่อยอดสินค้าและบริการ หรือโครงการใหม่ ๆ ของบริษัท
- ซื้อกิจการที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เช่น เข้าซื้อกิจการคู่แข่ง เพื่อลดส่วนแบ่งทางการตลาด เป็นต้น
- ขาดทุนสะสม
เอกสารหลักฐานที่ต้องเก็บไว้
1.หนังสือพิมพ์ (ฉบับจริง) ประกาศเชิญประชุมผู้ถือหุ้น (ไม่น้อยกว่า 7 วัน
2.หนังสือพิมพ์ (ฉบับจริง) ประกาศจ่ายเงินปันผล (ประกาศหลังจากมีมติที่ประชุม)
3.รายงานการป