
การเก็บเอกสารทางบัญชีและภาษีไว้กับตัว เป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ ช่วยให้ธุรกิจของคุณปฏิบัติตามกฎหมาย ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันความเสี่ยง
ทำไมธุรกิจต้องเก็บเอกสารทางบัญชีและภาษีไว้กับตัว
เนื่องจากพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 7 ปี ส่วนประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องเก็บรักษาเอกสารทางภาษีไว้ ไม่น้อยกว่า 5 ปี นอกจากนี้ยังต้องเก็บไว้เป็นเอกสารในการตรวจสอบบัญชีและภาษีย้อนหลังอีกด้วย
เอกสารทางบัญชี ต้องเก็บไว้กี่ปีถึงจะทำลายทิ้งได้
ระยะเวลาการเก็บรักษาเอกสารทางบัญชี ขึ้นอยู่กับประเภทของเอกสาร ดังนี้
บัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี : เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันปิดบัญชี
ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง : เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือวันทำรายงาน
เอกสารอื่นๆ เช่น สัญญา บันทึกข้อตกลง จดหมาย : เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันที่ทำรายการเสร็จสิ้น
เอกสารทางภาษี ต้องเก็บไว้กี่ปีถึงจะทำลายทิ้งได้
เอกสารทางภาษี โดยทั่วไปแล้ว สามารถเก็บไว้ 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือวันทำรายงาน แต่ มีข้อยกเว้นบางกรณี ดังนี้
- กรณีกรมสรรพากรมีคำสั่ง ให้เก็บไว้เกิน 5 ปี แต่ไม่เกิน 7 ปี
- เอกสารที่มีอายุความตามกฎหมาย เช่น ใบเสร็จรับเงินสำหรับค่าซื้อที่ดิน เก็บไว้ 10 ปี
เนื่องจากกรมสรรพากรมีนาจในการตรวจสอบย้อนหลังได้หรือมีอำนาจเรียกเก็บภาษีอากรจากผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษี ซึ่งประมวลรัษฎากร มิได้กำหนดระยะเวลาดำเนินการ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกหรือประเมินภาษีอากรได้ภายใน 10 ปี จึงต้องเก็บเอกสารไว้เพื่อให้กรมสรรพากรประเมินและตรวจสอบ