- การขายหน่วยลงทุน RMF ก่อน 5 ปี จะต้องเสียภาษีเงินได้
- ผู้ลงทุนสามารถนำเงินที่ซื้อหน่วยลงทุน RMF ไปหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของเงินได้พึงประเมิน
RMF ที่หลายคนรู้จักในชื่อ “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” เป็นกองทุนรวมที่สนับสนุนให้คนไทยออมเงินเพื่อการเกษียณอายุ โดยเสนอสิทธิประโยชน์ทางภาษี ดังนี้:
สิทธิในการยกเว้นภาษี
เงินซื้อกองทุน RMF นำไปยกเว้นภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% (กฎใหม่) ของเงินได้พึงประเมินเมื่อเรายื่นภาษี แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับเงินที่สมทบเข้ากองทุนอื่น ๆ
โดยกำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงื่อนไขการซื้อกองทุน RMF
1. เมื่อเริ่มซื้อ RMF แล้ว ต้องซื้อต่อเนื่องไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง ให้ซื้อไม่ต่ำกว่า 5,000 บาทหรือไม่ต่ำกว่า 3% ของเงินได้ในแต่ละปี
2. ต้องไม่ระงับการซื้อ RMF เกินกว่า 1 ปีขึ้นไป (ซื้อปีเว้นปีได้)
3. ถ้าปีใดไม่มีเงินได้ไม่ต้องลงทุน
4. ลงทุนซื้อปีไหนก็ต้องใช้สิทธิยกเว้นภาษีในปีภาษีนั้น
เงื่อนไขการขายกองทุน RMF
- ต้องลงทุนซื้อมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี (ต้องนับแบบวันชนวันตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก)
- การนับว่าลงทุนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี ให้นับเฉพาะปีที่มีการซื้อเท่านั้น ถ้าปีไหนไม่ซื้อ ก็จะไม่นับว่ามีอายุการลงทุนในปีนั้นๆ
- ต้องถือหน่วยลงทุนจนครบอายุ 55 ปีบริบูรณ์ (คือขายได้ตั้งแต่วันเกิด)
การผิดเงื่อนไขการลงทุนใน RMF (ผิดด้านการขาย)
1. ขายหน่วยลงทุนก่อนที่จะมีการถือครองครบ 5 ปีเต็มแบบวันชนวัน
2. ขายหน่วยลงทุนก่อนที่จะอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
3. ยกเว้นกรณีผู้ลงทุนเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ก็จะไม่ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุนหากขายก่อนถือครบ 5 ปี หรืออายุครบ 55 ปี
เมื่อผิดเงื่อนไขแล้วจะเป็นอย่างไร
กรณีลงทุนไม่ถึง 5 ปี (แบบวันชนวัน) และมีการผิดเงื่อนไข
1.1 เรื่องเงินภาษี จะต้องคืนภาษีที่ได้รับยกเว้นไปเป็นเวลา 5 ปีย้อนหลังนับตามปีปฏิทิน โดยยื่นเสียภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไข
1.2 เรื่องกำไรจากการขายหน่วยลงทุน จะต้องนำไปรวมเป็นเงินได้ในปีภาษีทีขาย ซึ่งตามปกติเมื่อเราขายคืน ทาง บลจ. จะมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 3% ของกำไรที่ได้จากการขายคืน และสิ้นปีเราต้องเอากำไรนี้มาคำนวณภาษีอีกครั้ง
เมื่อผิดเงื่อนไขแล้วจะเป็นอย่างไร
กรณีลงทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป (แบบวันชนวัน) และมีการผิดเงื่อนไข
2.1 เรื่องเงินภาษี จะต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับการยกเว้นไปเป็นเวลา 5 ปี ย้อนหลังนับตามปีปฏิทิน โดยยื่นเสียภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไข
2.2 เรื่องกำไรจากการขายหน่วยลงทุน จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ในการคืนเงินภาษี ถ้ายืนแบบช้ากว่าเดือนมีนาคมในปีถัดไป จะต้องเสียเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือน โดยการนับเดือนของเงินเพิ่ม จะเริ่มนับจากเดือนเมษายนของปีถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไขการลงทุนเป็นต้นไป