Logo-สำนักงานบัญชี-ARAC
บัญชีและภาษีเบื้องต้น : ขายเครื่องดื่ม ชานมไข่มุก ร้านกาแฟ คาเฟ่ มีภาษีอะไรบ้าง
Date : 12/04/2024
ขายเครื่องดื่ม ชานมไข่มุก ร้านกาแฟ คาเฟ่ มีภาษีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง

ร้านกาแฟ และเครื่องดื่ม กำลังเป็นธุรกิจฮอตฮิตในประเทศไทย ไม่ว่าจังหวัดไหนก็จะมีร้านเหล่านี้ ยิ่งประเทศไทยเข้าฤดูร้อนเครื่องดื่มและคาเฟ่ก็เป็นสถานที่และของกินที่คนไทยกำลังต้องการ ซึ่งร้านเหล่านี้เมื่อมีรายได้ ต้องเริ่มจ่ายภาษีเหมือนกัน

ขายเครื่องดื่ม ชานมไข่มุก ร้านกาแฟ คาเฟ่ มีภาษีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ไม่ว่าจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ก็ตาม เจ้าของร้านขายเครื่องดื่ม ชานมไข่มุก ร้านกาแฟ คาเฟ่จะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขายอยู่แล้ว โดยผู้ขายอุปกรณ์หรือส่วนผสมต่าง ๆ จะต้องออกใบกำกับภาษีให้ ในกรณีที่เราเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนเราจะเก็บใบกำกับภาษีเอาไว้เพื่อนำไปคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน และนำเก็บไว้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีเงินได้

ในแต่ละครั้งต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ และมีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ราบงานภาษีขาย-ภาษีซื้อ และยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ. 30 ภายในวันที่ 15 ของแต่ละเดือน

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

หากคุณเป็นบุคคลธรรมดา และมีรายได้รวมจากการขายเครื่องดื่ม ชานมไข่มุก ร้านกาแฟ คาเฟ่ อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ก็ต้องเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและต้องยื่นชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่

> ยื่นภาษีครึ่งปี โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 ในช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน

> ยื่นภาษีประจำปี โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 ในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม

 

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

หากคุณเปิดคาเฟ่ในนามนิติบุคคล สามารถจดทะเบียนธุรกิจและเข้าสู่ระบบภาษีได้ โดยการขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีปีละ 2 ครั้ง

> ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือน นับแต่

วันครบ 6 เดือน ของรอบระยะเวลาบัญชี

> ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชียื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

 

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ถ้าร้านขายเครื่องดื่ม ชานมไข่มุก ร้านกาแฟ และคาเฟ่ มีการจ้างลูกจ้าง มีการเช่าสถานที่หรือจ่ายค่าแฟรนไชส์ ต้องมีหน้าที่หักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

      - กรณีที่เรามีลูกจ้างเราต้องทำการเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ที่เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

      - จัดหาสถานที่ตั้ง ผู้เช่าที่เป็นนิติบุคคลเมื่อจ่ายค่าเช่า มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

      - จ่ายค่าแฟรนไชส์ ผู้จ่ายที่เป็นนิติบุคคลเมื่อจ่ายค่าแฟรนไชส์ให้แก่ผู้รับที่เป็นนิติบุคคล มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย จากเจ้าของแฟรนไชส์ในฐานะเป็นเจ้าของสิทธิแฟรนไชส์

 

บริการ
ข่าว
Copyright © 2024 A.R. Accounting Consultant Co., Ltd. All Right reserved. Privacy Notice  Privacy Policy  Cookies Policy