ในยุคดิจิทัลอีกหนึ่งสิ่งที่กำลังเป็นที่ยอดฮิตเลย คือการเป็นนายหน้าขายสินค้าบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ หรือเรียกว่า Affiliate Marketing นั่นเอง ซึ่งการเป็นนายหน้าไม่จำเป็นจะต้องเป็นดาราหรืออินฟูลเอนเซอร์เสมอไป เพียงทำคลิปรีวิวสินค้าเรื่อย ๆ ติดตะกร้า ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Shopee Lazada Tiktok เป็นต้น โดยไม่ต้องสต็อกสินค้าหรือแพคสินค้าส่งเอง ทุกคนที่เคยใช้แพลตฟอร์มเหล่านี้สามารถหารายได้ให้ตัวเองเช่นกัน
แต่เมื่อมีค่าคอมมิชชันเข้ามาแล้ว อย่าลืมเรื่องของภาษี เพราะการที่เรามีรายได้ = เรามีหน้าที่ยื่นภาษีและเสียภาษีด้วย
การเป็นนายหน้า ได้ค่าคอมมิชชัน เป็นเงินได้ประเภทไหน
รายได้ที่เป็นนายหน้า ค่าคอมมิชชันสินค้าติดตระกร้าหรือแปะลิงก์, ค่าคอมมิชชันไลฟ์สดบน Marketplace หรือ Shopee Live, รับงานรีวิว ชวนเพื่อนมาเล่นกิจกรรมแล้วได้เงิน ต้องยื่นภาษีประเภทที่ 2 [ 40(2) ]
เงินได้ประเภทที่ 2 หักค่าใช้จ่ายแบบใด
เงินได้ประเภทนี้หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50% เนื่องจากเป็นเงินได้ที่ใกล้เคียงกับประเภทที่ 1 จึงให้นำมารวมเป็นก้อนเดียว แต่หักค่าใช้จ่ายได้สูงสุด 100,000 บาทเท่านั้น
ตัวอย่างการหาเงินได้สุทธิ = รายได้ - ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
รายได้
รายได้ประเภทที่ 1 รวม 300,000 บาท
รายได้ประเภทที่ 2 รวม 120,000 บาท
รวมรายได้ทั้งสิ้น 420,000 บาท
หักค่าใช้จ่าย
หักค่าใช้จ่ายเหมา 50% จะได้ 210,000 บาท
แต่หักค่าใช้จ่ายเหมา จะหักได้สูงสุด 100,000 บาท เท่านั้น
สรุปรายได้ - ค่าใช้จ่าย = 320,000 บาท
คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีวิธีคิดภาษีแบบขั้นบันได้ กับคิดภาษีแบบเหมา
ในกรณีนี้คิดภาษีแบบขั้นได เนื่องจากรายได้จากทางอื่นนอกเหนือจากระเภทที่ 1 (เงินเดือน) ไม่เกิน 1,000,000 บาทขึ้นไปจึงไม่คิดภาษีแบบเหมา
ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได
รายได้ 320,000 – ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
รายได้สุทธิ 260,000 บาท
คำนวณภาษีแบบขั้นบันได 260,000 = อัตราภาษี 5%
แต่เงินได้สุทธิ 0 - 150,000 บาท ได้รับการยกเว้น [260,000 – 150,000 = 110,000 บาท]
110,000 x 5%
ค่าภาษี = 5,500 บาท
ดังนั้นไม่ว่าคุณจะลงคลิปบน TikTok แล้วติดตระกร้าแล้วได้รับค่าคอมมิชชัน หรือใช้ลิงก์ Affiliate ไปแชร์ในแพลตฟอร์มต่างๆ แล้วได้รับเงิน ต้องนำเงินเหล่านั้นมาคิดรวมในภาษีด้วย หากไม่นำมาคิดอาจต้องเสียค่าปรับ และภาระภาษีที่เพิ่มจากเดิม คุณต้องให้ความสำคัญกับการความถูกต้องและอย่าลืมวางแผนภาษี