Logo-สำนักงานบัญชี-ARAC
Disclosure Form คืออะไร ใครมีหน้าที่ยื่น
Date : 15/05/2024
มาทำความรู้จักอีกหนึ่งแบบรายงานประจำปีของนิติบุคคลกัน
 
 

มาทำความรู้จักอีกหนึ่งแบบรายงานประจำปีของนิติบุคคลกัน

Disclosure Form หรือแบบรายงานประจำปีสำหรับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร คือ แบบรายงานที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ต้องจัดทำตามแบบที่อธิบดีกำหนดและยื่นพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการตามมาตรา 69 คือภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีเป็นแบบรายงานที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับ

                 1.) รายชื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันที่ประกอบกิจการในประเทศไทย และไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย

                 2.) มูลค่าธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี

                 3.) ข้อมูลอื่น ๆ เช่น ผู้มีหน้าที่จัดทำงบการเงินรวม การปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจ การจำหน่ายโอนทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนไปยังบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ เป็นต้น

 

ใครต้องยื่น Disclosure Form หรือแบบรายงานประจำปี

บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ วรรค 2 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง นิติบุคคลตั้งแต่ 2 นิติบุคคลขึ้นไปที่มีความสัมพันธ์กันต่อไปนี้

           - นิติบุคคลหนึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งไม่ว่าโดยตรง หรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด

           - ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งไม่ว่าโดยตรง หรือโดยอ้อม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด

           - นิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในด้านทุน การจัดการ หรือการควบคุมในลักษณะที่นิติบุคคลหนึ่งไม่อาจดำเนินการ โดยอิสระจากอีกนิติบุคคลหนึ่งตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง

นิติบุคคลที่มีรายได้ทั้งหมด มากกว่า 200 ล้านบาท

 

หากนิติบุคคลไม่ยื่น Disclosure Form หรือแบบรายงานประจำปี จะมีโทษอย่างไรบ้าง

มาตรา 35 ตรี ตามประมวลรัษฎากร กำหนดโทษสำหรับนิติบุคคลที่ไม่ยื่นรายงานหรือเอกสาร หรือหลักฐานตามแบบที่อธิบดีกำหนด หรือแสดงข้อมูลไม่ถูกต้องครบถ้วน โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือไม่ยื่นภายในกำหนดเวลา “ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาท"

อย่างไรก็ตาม กรมสรรพากร ได้กำหนดอัตราที่ควรเปรียบเทียบปรับไว้ สำหรับการยื่นรายงานเกินกำหนดเวลา สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลัง วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ดังนี้

            ▲ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา ปรับ 50,000 บาท

            เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา ปรับ 100,000 บาท

            เจ้าหน้าที่ตรวจพบ ปรับ 200,000 บาท

บริการ
ข่าว
Copyright © 2024 A.R. Accounting Consultant Co., Ltd. All Right reserved. Privacy Notice  Privacy Policy  Cookies Policy