Logo-สำนักงานบัญชี-ARAC
สรุปไฮไลท์สำคัญจากงานสัมมนาภาษี เข้าใจกระบวนการตรวจสอบภาษี : เคล็ดลับที่ผู้ประกอบการและนักบัญชีต้องรู้
Date : 12/11/2024

รวบรวมไฮไลท์สำคัญของงานสัมมนา ข้าใจกระบวนการตรวจสอบภาษี : เคล็ดลับที่ผู้ประกอบการและนักบัญชีต้องรู้มาไว้ที่นี่

ในงานสัมมนา “เข้าใจกระบวนการตรวจสอบภาษี : เคล็ดลับที่ผู้ประกอบการและนักบัญชีต้องรู้” เป็นการรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับการตรวจสอบภาษีที่สำคัญกับผู้ประกอบการและนักบัญชี โดยภายในงานก็มีการพูดถึงประเด็นต่าง ๆ ตั้งแต่การประเมินภาษีด้วยตนเอง, การตรวจสอบภาษี, อำนาจเจ้าพนักงาน, วิธีการตรวจ จนไปถึงโทษทางภาษี

โดยเป็นการลงละเอียดเกี่ยวกับดำเนินการต่าง ๆ ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ทราบถึงขั้นตอนการตรวจสอบภาษี ไม่ใช่การลงรายละเอียดให้ผู้ประกอบการและนักบัญชีหลีกหนีจากการตรวจสอบ เพราะการโดนตรวจสอบภาษีไม่ได้น่ากลัวเสมอไป ถ้าคุณไม่มีเจตนา วันนี้เราจะรวบรวมไฮไลท์สำคัญของงานสัมมนาครั้งนี้มาพูดถึงกัน

ก่อนที่จะมีการตรวจสอบภาษี ทุกคนจะเข้าใจกันดีว่าภาษีสรรพากรคือระบบประเมินตนเอง นั่นหมายถึง ระบบที่ให้ผู้เสียภาษีมีส่วนร่วมในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยอาศัยข้อมูลต่าง ๆ และเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น รายได้ ค่าใช้จ่าย กำไรขาดทุนและสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำข้อมูลเหล่านั้นไปกรอกในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบภาษี เพื่อให้ผู้ประกอบการชำระภาษีอย่างถูกต้อง

Highlight 1 : เหตุผลหลักที่ต้องมีการตรวจสอบภาษี

เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล: การตรวจสอบภาษีมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อตรวจสอบว่าข้อมูลที่ผู้เสียภาษียื่นนั้นถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงหรือไม่ เช่น รายได้ ค่าใช้จ่าย การหักลดหย่อนต่างๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการคำนวณภาษีที่ต้องชำระ

เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี: การตรวจสอบช่วยป้องกันไม่ให้ผู้เสียภาษีจงใจหลีกเลี่ยงการเสียภาษี หรือใช้ช่องทางที่ไม่ถูกต้องในการลดภาษี ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้เสียภาษีรายอื่นๆ

เพื่อรักษาความโปร่งใส: การตรวจสอบภาษีช่วยสร้างความโปร่งใสให้กับระบบภาษี ทำให้ผู้เสียภาษีทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับระบบภาษี

เพื่อเพิ่มรายได้ให้รัฐ: การตรวจสอบภาษีที่เข้มงวดจะช่วยให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างครบถ้วน ซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญในการนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ

เพื่อปรับปรุงกฎหมายภาษี: ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบภาษีจะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปวิเคราะห์และปรับปรุงกฎหมายภาษีให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

Highlight 2 : ทำไมถึงโดนตรวจสอบภาษี เจ้าพนักงานนำรายชื่อของสถานประกอบการมากจาไหน?

      - เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบทุกธุรกิจที่มีการยื่นภาษี และคัดเลือกจากระบบ

      - ถูกส่งมาจากส่วนงานวางแผนและประเมินผล เช่น รายการที่มีการขอคืนภาษี เป็นต้น

      - รายชื่อถูกส่งมาจากส่วนกลาง

      - กรณีอื่น ๆ เช่น หนังสือร้องเรียน, ข้อมูลที่เชื่อมโยงกับรายอื่น ๆ เป็นต้น

 

กรณีที่ไม่พบความผิดปกติทางภาษี แต่เจ้าพนักงานเล็งเห็นว่าอาจจะมีความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีไม่ถูกต้องจะทำการตรวจแนะนำด้านภาษีอากร แต่ถ้าพบความผิดปกติที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้จะดำเนินการวิเคราะห์และตรวจสอบแบบแสดงรายการภาษี ต่อไป

กรณีพบความผิดปกติเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีธุรกิจเฉพาะจะทำการตรวจปฏิบัติการ หากพบความผิดปกติทางภาษี และผู้เสียภาษีไม่ชำระภาษีตามคำแนะนำ หรือกระทำการใด ๆ ที่ชี้ว่ามีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีทางเจ้าพนักงานจะออกหมายเรียกตรวจสอบ ซึ่งอาจมีโทษทางภาษีอื่น ๆ เพิ่มเติม

 

Highlight 3 : การสอบยันใบกำกับภาษี ส่วนใหญ่เป็นการนำใบกำกับภาษีซื้อ ของผู้ซื้อ ไปสอบยัน กับสำเนาใบกำกับภาษีขายของผู้ขาย ว่ามีการซื้อขายจริงและนำส่งภาษีขายถูกต้อง หรือไม่

 

Highlight 4 : อำนาจเจ้าพนักงานของกรมสรรพากร

เพื่อให้การเสียภาษีในระบบประเมินตนเอง (Self Assessment) มีประสิทธิภาพ กฎหมายภาษี จึงกำหนดให้ เจ้าพนักงานมีอำนาจในการดำเนินการเท่าที่จำเป็น ในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากร เช่น มีอำนาจ เข้าไปในสถานประกอบการ ยืด อายัด ตรวจค้น ออกหมายเรียก และอื่น ๆ ได้

 

Highlight 5 : วิธีการตรวจสอบ

  1. ไต่สวนเบื้องต้น
  2. ข้อมูลที่ใช้ในการตรวจสอบ เช่นแบบแสดงรายการภาษีต่าง ๆ หรือข้อมูลจากหน่วยงานหรือองค์กรอื่น ๆ เป็นต้น
  3. ตรวจสอบภาษี โดยจะตรวจดูจากรายได้ หรือยอดขาย, รายจ่าย หรือยอดซื้อ, รายงานภาษี, ใบกำกับภาษี และรายการที่มีความปกติ (เช่น สิงค้าคงเหลือสูง หรือมีการขาดทุนต่อเนื่อง) เป็นต้น
  4. หากมีรายการที่มีความผิดปกติ อย่างสินค้าคงเหลือสูงจะทำการตรวจนับสิงค้าคงเหลือ โดยเป็นการเข้าตรวจนับโดยไม่มีการนัดล่วงหน้า
บริการ
ข่าว
Copyright © 2025 A.R. Accounting & Consultant Co., Ltd. All Right reserved. Privacy Notice  Privacy Policy  Cookies Policy