
ลดหย่อนภาษีในหมวดประกัน เป็นสิทธิประโยชน์ที่รัฐบาลจัดให้เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการออมและวางแผนทางการเงิน โดยการนำเบี้ยประกันที่ชำระไปหักลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณจ่ายภาษีน้อยลง
1. ค่าเบี้ยประกันชีวิต และเบี้ยประกันสะสมทรัพย์ : หักค่าลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
เงื่อนไข :
- ระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป หากเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี นำมาลดหย่อนไม่ได้
- ต้องทำประกันชีวิตกับบริษัทที่ประกอบกิจการในประเทศไทย
- กรณีคู่สมรสไม่มีรายได้ สามารถนำเบี้ยประกันของคู่สมรสมาลดหย่อนได้ สูงสุด 10,000 บาท
ตัวอย่าง: คุณจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 80,000 บาท คุณสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวน 80,000 บาท
2. ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุเฉพาะความคุ้มครองสุขภาพ : หักลดหย่อนตามจ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท
อย่าลืม!! เมื่อนำเบี้ยประกันสุขภาพ ประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์มารวมกันแล้ว ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท
ตัวอย่าง: คุณจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ 20,000 บาท และเบี้ยประกันชีวิต 80,000 บาท คุณสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด 100,000 บาท
3. ค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา : หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่รวมทั้งบิดาและมารดาแล้วต้องไม่เกิน 15,000 บาท
เงื่อนไข : บิดามารดาต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
ตัวอย่าง: คุณจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพของพ่อ 10,000 บาท และเบี้ยประกันชีวิต 90,000 บาท คุณสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด 100,000 บาท
4. ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ : หักค่าลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200,000 บาท
เงื่อนไข :
- ระยะเวลาการคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป
- ทำกับบริษัทประกันชีวิตที่ประกอบกิจการในไทย
- จ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ และต้องกำหนดช่วงอายุของการจ่ายเมื่อผู้มีเงินได้อายุตั้งแต่ 55-85 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง: หากคุณมีเงินได้ที่ต้องเสียภาษี 1,000,000 บาท คุณสามารถลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้สูงสุด 150,000 บาท (15% ของ 1,000,000 บาท) แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
หมายเหตุ: ยอดรวมของเบี้ยประกันบำนาญ เมื่อรวมกับเงินสะสม เข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข., กองทุน สงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และค่าซื้อ หน่วยลงทุน RMF ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
5. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท สามารถใช้สิทธิดังกล่าวควบคู่ไปกับเบี้ยประกันรูปแบบอื่น ๆ ได้ แต่เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
เอกสารที่ต้องใช้: ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกัน