การนำคนต่างด้าว หรือคนต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทย ไม่ใช่ว่าจะทำได้เลยแต่ต้องรู้ข้อกำหนดและกฎหมายในการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ของบริษัทและตัวคนต่างด้าวเอง ไม่งั้นจะถือว่าคนคนนั้นที่เข้ามาทำงานเป็นแรงงานเถื่อน ดังนั้นบริษัทหรือผู้ประกอบการควรให้สำคัญกับเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการจะได้รับอนุญาตทำงานนั้น ก็มีเงื่อนไขในการพิจารณาอีกเช่นกัน โดยการพิจารณาจะคำนึงถึง ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร การพัฒนาเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพของคนไทย และความต้องการแรงงานต่างด้าวที่จำเป็นต่อประเทศ เช่น กิจการนั้นส่งเสริมการนำรายได้เข้าประเทศหรือไม่ เป็นต้น มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
- คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ และองค์กรมหาชนตามกฎหมาย
- ผู้ประกอบการ หรือนายจ้างสถานประกอบการที่เป็นนิติบุคคลไทย และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 2 ล้านบาท หรือนิติบุคคลที่เป็นคนชาวต่างชาติ มีการนำเงินโอนมาลงทุนจากต่างประเทศ จำนวน 3 ล้านบาท ซึ่งจะพิจารณาอนุญาตได้ 1 คน และอนุญาตให้ได้ไม่เกิน 10 คน
- ประโยชน์จากการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในตำแหน่งงานนั้น หรือการพัฒนาฝีมือคนไทย ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงาน
- มีความรู้และความสามารถในการทำงานตามที่ได้ขออนุญาต
- ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
- ไม่เป็นผู้เจ็บป่วย ได้แก่ โรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างอันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษ และโรคพิษสุราเรื้อรัง
- ไม่เคยได้รับโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว (ในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต)
สามารถดูรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
วันที่ 2018-02-13