
SMEs หรือ Small To Medium Enterprise ซึ่งเอสเอ็มอีเป็นคำสั้น ๆ ที่ใช้เรียกธุรกิจและองค์กรอื่น ๆ ที่ดำเนินธุรกิจด้านการผลิตและจำหน่ายขนาดย่อม เป็นธุรกิจที่ค่อนข้างมีอิสระในการดำเนินธุรกิจและมีต้นทุนค่อนข้างต่ำ พนักงานไม่เกิน 500 คน
ในปัจจุบัน SMEs เป็นธุรกิจขนาดย่อมที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เนื่องธุรกิจเอสเอ็มอีช่วยกระจายรายได้ไปสู่กลุ่มคนต่าง ๆ และทำให้เกิดการจ้างและประชาชนทุกคนก้มีรายได้อย่างทั่วถึง อีกทั้งเอสเอ็มอียังเป็นอีกหนึ่งจุดที่นำไปสู่การเริ่มต้นของธุรกิจขนาดใหญ่ โดยประเทศไทยของเราได้ประกาศกฎหมายเพื่อสนับสนุนส่งเสริมธุรกิจ SMEs อย่างเช่น ลดอัตราภาษีเงินได้ ยกเว้นภาษีเงินได้และอื่น ๆ ซึ่งใครที่กำลังสงสัยว่าทำธุรกิจ SMEs ต้องจดทะเบียนหรือไม่ กรมสรรพากรได้ระบุรูปแบบธุรกิจอยู่กฎหมายดังกล่าวด้วย ดังนั้นธุรกิจเอสเอ็มอีจะต้องจดทะเบียนธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วยรูปแบบดังต่อไปนี้
จดทะเบียนธุรกิจ : รูปแบบบุคคลธรรมดา หรือธุรกิจที่กระทำตั้งแต่คนเดียวขึ้นไป
การเลือกทำธุรกิจเอสเอ็มอี รูปแบบบุคคลธรรมดาสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้เพียงแค่ 1 คน ธุรกิจรูปแบบนี้ทำให้มีการดำเนินการที่ซับซ้อนและมีความคล่องตัวสูงในการตัดสินใจต่าง ๆ
จดทะเบียนธุรกิจ : รูปแบบนิติบุคคล หรือธุรกิจที่มีหุ้นส่วนร่วมกันหลายคน
การเลือกทำธุรกิจเอสเอ็มอี หากมีหุ้นส่วนร่วมลงทุนกันหลายคนสามารถจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลได้ การจดทะเบียนรูปแบบนี้ทำให้เมื่อเกิดปัญหาสามารถจำกัดความรับผิดชอบได้ตามสัดส่วนการถือหุ้นของแต่ละคน อีกทั้งยังเสียภาษีน้อยลงได้ หาก 3 แสนบาทแรกไม่ต้องเสียภาษีและถ้ามีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาทและรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทเสียภาษีเพียง 10%
นอกจากนี้ยังสามารถนำรายจ่ายที่ได้จ่ายในการดำเนินธุรกิจเอสเอ็มอีมาลดหย่อนภาษีได้อย่างเช่น ค่าอบรมพนักงาน, ค่าวิจัย, ค่าเสื่อมเครื่องจักรเป็นต้น
วันที่ 2018-11-16