Logo-สำนักงานบัญชี-ARAC
การทำลายสต็อกสินค้า เมื่อหมดอายุการใช้งาน ต้องทำอย่างไรในด้านบัญชี
Date : 18/12/2020
เมื่อผลิตสินค้ามาไว้ในสต็อกแล้ว แต่ระหว่างเก็บสินค้าในสต็อกนั้นตัวสินค้ามีอายุการใช้งาน ซึ่งการทำลายสต็อกสินค้านั้นไม่ใช่อยู่ ๆ

เมื่อผลิตสินค้ามาไว้ในสต็อกแล้ว แต่ระหว่างเก็บสินค้าในสต็อกนั้นตัวสินค้ามีอายุการใช้งาน ซึ่งการทำลายสต็อกสินค้านั้นไม่ใช่อยู่ ๆ คิดอยากจะทำลายก็ทำลายเลย แต่ต้องดูเงื่อนไขและวิธีการทำลายด้วย

ทำไมต้องทำลายสินค้า

  1. สินค้าที่ถูกทำลายไม่ถือเป็นการขาย ดังนั้นจะไม่ต้องเสียภาษีขาย
  2. เมื่อทำลายสินค้า นิติบุคคลมีสิทธินำต้นทุนของสินค้าที่ถูกทำลายมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ทำลายสินค้า

                     การทำลายสินค้าจะต้องทำถูกต้องตามที่กรมสรรพากรได้กำหนด
สินค้าที่สามารถทำลายได้
    สินค้าที่ต้องการทำลายเป็นสินค้าที่เน่าเสียได้ เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เป็นต้น สามารถทำลายได้เลยโดยไม่ต้องแจ้งสรรพากร
    สินค้าที่ต้องการทำลายเป็นสินค้าสามารถเก็บรักษาได้ รอปริมาณเยอะค่อยทำลายทีเดียว เมื่อจะทำลายสินค้าจะต้องดำเนินการแจ้งการทำลายให้สรรพากรพื้นที่หรือสรรพากรจังหวัดทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนวันทำลายสินค้า
ขั้นตอนการทำลายสินค้าที่ถูกต้อง
1.ตรวจสอบสินค้าว่าเสียหายจริงหรือไม่ตามระเบียบของบริษัท ส่งให้ผู้มีอำนาจอนุมัติว่าเสียตามที่ระเบียบบริษัทกำหนด
2.กรณีที่สินค้าได้รับคืนมาจากลูกค้า บริษัทจะต้องเก็บหลักฐานการรับคืน เอกสารดังกล่าวจะต้องระบุ
       2.1 วันที่รับคืนสินค้า
       2.2 สาเหตุการรับคืน
       2.3 ชนิดสินค้า และปริมาณ
       2.4 เลขที่อ้างอิงการสั่งซื้อสินค้าชนิดนั้น
3. เมื่อได้รับอนุมัติให้ทำลาย จะมีผู้เข้าร่วมการทำลายสินค้าอย่างน้อยดังนี้ ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขายหรือฝ่ายตรวจสอบ (ถ้ามี) พร้อมผู้ตรวจสอบบัญชี เมื่อทำลายเสร็จให้ทุกคนลงลายมือชื่อเป็นพยานในการทำลายสินค้า
    อย่างไรก็ตาม หากจะทำลายสต๊อกสินค้าอย่าลืมร่างจดหมายทำลายสต็อก ถึงกรมสรรพากรพื้นที่ก่อนทำลายด้วย โดนระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้


ตัวอย่างร่างจดหมายเรื่องทำลายสต็อก
วันที่ xx/xx/xx
เรียน : สรรพากรพื้นที่จังหวัดxxx
เรื่อง : แจ้งและขอเชิญมาเป็นพยานในการทำลายสินค้าที่เสื่อมคุณภาพและสินค้าที่มีตำหนิ
    เนื่องจาก บริษัท xxx ทะเบียนเลขที่xxx มีสินค้าที่เสื่อมคุณภาพและสินค้าที่มีตำหนิ ชำรุดบกพร่อง ไม่ได้มาตรฐาน ไม่สามารถจำหน่ายได้ มีจำนวน และมูลค่าของสินค้าดังรายการต่อไปนี้
    ประเภทสินค้า            จำนวนสินค้า (ชิ้น)             มูลค่าสินค้า (บาท)
     สินค้าสำเร็จรูป                 xxx                                  xxx
                   รวม                 xxx                                  xxx
    บริษัทxxx จะทำลายสินค้าที่เสื่อมคคุณภาพและสินค้าที่มีตำหนิ ชำรุดบกพร่อง มีรายละเอียดตามเอกสารที่แนบมาด้วย บริษัทฯ จะทำลายสินค้าดังกล่าวโดยวิธี xxx จากนั้นได้ว่าจ้าง บริษัท xxx เป็นตัวแทนในการขนส่งเศษซากโดยวิธีการใช้รถบดให้เสียรูป
    ณ วันที่ทำลายสินค้าดังกล่าว บริษัทฯ มีบุคคลอันประกอบด้วยฝ่ายคลังสินค้า, ฝ่ายบัญชี, ผู้บริหาร ร่วมสังเกตุการณ์ และลงลายมือชื่อเป็นพยานในการทำลาย เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี พร้อมทั้งได้เชิญผู้สอบบัญชี ในการตรวจสอบการทำลายส่วนสูญเสียมาเป็นพยานในการทำลาย
    ดังนั้นจึงเรียนมาเพื่อแจ้งทำลายและขอเชิญสรรพากรพื้นที่จังหวัดxxx ให้มาเป็นพยน (ตามคำสั่ง กรมสรรพากร ที่ ป.79/2541 เรื่อง แนวทางปฏิบัติ กรณีการทำลายของเสีย สินค้าที่เสื่อมคุณภาพ สินค้าที่มีตำหนิ สินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้าที่หมดอายุ และเศษซาก) ในการทำลายสินค้าที่เสื่อมคุณภาพและสินค้าที่มีตำหนิ ชำรุด บกพร่อง ของบริษัทxxx เวลา xx.xx – xx.xx น. จักเป็นพระคุณยิ่ง

ขอแสดงความนับถือ

ตำแหน่ง…………………………………………..
 

 

วันที่ 2019-08-26

บริการ
ข่าว
Copyright © 2024 A.R. Accounting Consultant Co., Ltd. All Right reserved. Privacy Notice  Privacy Policy  Cookies Policy