Logo-สำนักงานบัญชี-ARAC
เงินสมทบกรณีชราภาพ ประกันสังคม
Date : 18/12/2020
ไม่ว่าธุรกิจใดก็ตาม ต้องมีการซื้อซอฟต์แวร์ (Software) หรือโปรแกรม (Program) เพื่อนำมาใช้ในการทำงานภายในของธุรกิจ

        มนุษย์เงินเดือนล้วนทราบกันดีว่าจะโดนเรียกเก็บเงิน 5% ของเงินเดือนที่ได้รับในแต่ละเดือน แต่ไม่เกิน 1,000 บาท เข้ากองทุนประกันสังคม ซึ่งคุณรู้กันไหมว่า...เงินที่เราได้จ่ายกันไปทุกเดือนนั้น ส่วนหนึ่งเป็นค่ารักษาพยาบาล และอีกหนึ่งส่วนจะถูกกันไว้เป็นเงินออมไว้ใช้ในยามเกษียณ หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า “บำเหน็จและบำนาญชราภาพ

        แต่เคยสงสัยกันไหมว่าสิทธิประกันสังคมส่วนนี้ เราจะไปรับเงินคืนได้จากไหน และเมื่อไหร่ มากหรือน้อยกว่าที่เราจ่ายทุก ๆ เดือน แล้วถ้าลาออกก่อนจะได้เงินที่จ่ายไปไหม มาลองอ่านตรงนี้แล้วคิดทบทวนกันว่าที่เสียไปกันอยู่เนี่ยมันคุ้มค่าหรือเปล่า

 

ประกันสังคม คืออะไร?

        ผู้ประกันตนภาคบังคับ ตามมาตรา 33 หรือลูกจ้าง พนักงานเงินเดือนจะถูกหักเงิน 5% ของเงินเดือนหรือค่าจ้างไปสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม โดยกำหนดฐานค่าจ้างสูงสุดอยู่ที่ 15,000 บาท นั่นแปลว่าต่อให้เราเงินเดือนเกิน 15,000 บาท ก็จะถูกหักเงินเข้าสมทบกองทุนเพียงเดือนละ 750 บาท โดยจะแบ่งไปสมทบไว้เป็นสิทธิประโยชน์แยกตามกรณี มีดังต่อไปนี้

  • 1.5% ของค่าจ้างหรือสูงสุด 225 บาท จะถูกเก็บไว้สำหรับกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ + กรณีคลอดบุตร + กรณีทุพพลภาพ + กรณีเสียชีวิต
  • 0.5% ของค่าจ้างหรือสูงสุด 75 บาท จะเก็บไว้สำหรับกรณีว่างงาน
  • 3% ของค่าจ้าง หรือสูงสุด 450 บาทจะถูกเก็บไว้เป็นเงินสมทบกรณีชราภาพ

        นอกจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายแล้ว ยังมีเงินที่นายจ้างช่วยสมทบให้อีกเท่าตัว และยังมีเงินสมทบจากรัฐบาลช่วยสมทบบางกรณีอีกด้วย ตัวอย่างเช่น กรณีชราภาพ เราเริ่มสมทบในแต่ละเดือน 450 บาท และมีเงินสมทบจากนายจ้างอีก 450 บาท รวมแล้วเราจะมีเงินสมทบกรณีชราภาพเดือนละ 900 บาท ซึ่งเงินส่วนนี้จะกลายมาเป็นเงินบำเหน็จ หรือเงินบำนาญในวัยชราต่อไป

 

สิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ  

  • เงินชราภาพประกันสังคม ใครมีสิทธิ์ ได้รับบ้าง?

          ต้องบอกก่อนว่า ใช่ว่าทุกคนจะมีสิทธิ์ได้รับเงินชราภาพเหมือนกันหมดทุกคน เนื่องจากกองทุนประกันสังคมก็จะมีเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้ดังต่อไปนี้

  1. เป็นผู้ประกันตนภาคบังคับตามมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งมีสถานะเป็นลูกจ้างของสถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีและไม่เกิน 60 ปี
  2. เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 หรือบุคคลที่เคยทำงานเป็นพนักงานบริษัทเอกชนตามมาตรา 33 มาก่อน แต่ได้ทำการลาออกแล้วต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมของตนเอง สามารถสมัครเข้ากองทุนประกันสังคมเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แทนได้ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นผู้ประกันตนมาก่อนแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และลาออกจากงานมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน รวมถึงต้องไม่เป็นบุคคลทุพพลภาพด้วย
  3. มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  4. ความเป็นผู้กันตนได้สิ้นสุดลงแล้ว

 

        โดย "เงินบำนาญ" ที่ได้รับจะถูกทยอยจ่ายเป็นรายเดือนไปตลอดชีวิต โดยเราไม่สามารถเลือกได้เองว่าจะรับเป็นเงินบำเหน็จหรือบำนาญ เพราะจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามเงื่อนไข ซึ่งมีดังต่อไปนี้

        1. บำเหน็จชราภาพ คือการจ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน หรือ 15 ปี โดยแบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่

        - จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ได้รับบำเหน็จเท่ากับเงินที่เราจ่ายสมทบเท่านั้น

        - จ่ายสมทบมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่ถึง 180 เดือน ได้บำเหน็จเท่ากับเงินที่เราจ่ายสมทบ บวกกับเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนที่ประกันสังคมกำหนด

        2. บำนาญชราภาพ คือการจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน หรือ 15 ปี จะติดต่อกันหรือไม่ก็ได้ เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน แม้ว่าจะหยุดส่งไปช่วงหนึ่งแล้วกลับมาเข้าระบบประกันสังคมใหม่ หรือส่งติดต่อกัน 15 ปีก็ตาม จะมีสิทธิ์รับบำนาญเท่ากับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

        แต่ถ้าหากมีการจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน ก็จะได้บำนาญบวกเพิ่มขึ้นไปอีก 1.5% ทุก ๆ 12 เดือน หรือ 1 ปี เช่น จ่ายเงินสมทบ 30 ปี ก็จะได้รับบำนาญเป็น 20% + (1.5% x 15 ปี) เท่ากับ 42.5%

        โดบปกติทางสำนักงานประกันสังคมจะเป็นผู้ส่งหนังสือแจ้งยอดเงินสมทบให้ผู้ประกันตน แต่ถ้าหากใครต้องการเช็คยอดเงินสะสมด้วยตนเอง ก็สามารถตรวจสอบได้เช่นกันทั้งทางช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ ดังต่อไปนี้

  • เข้าไปติดต่อสอบถามโดยตรงได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่สะดวก
  • โทรสอบถาม สายด่วนประกันสังคม 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)
  • ตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคมได้ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ แบบนี้ >>> เช็กสิทธิประกันสังคมของตัวเองผ่านเว็บไซต์
  • SSO Connect จะอัพเดทรายการอัตโนมัติให้กับเราโดยตรง และสามารถตรวจสอบยอดรวมสมทบปัจจุบัน (ไม่รวมผลประโยชน์จากดอกผล) สำหรับระบบปฏิบัติการ iOS สามารถเก็บข้อมูลไว้ใน Wallet ได้

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • กรณีที่หนึ่ง ซึ่งเป็นคำถามยอดฮิตมาก ๆ เนื่องจากมีการเปลี่ยนงานกันในอายุของการทำงาน 30 ปีส่วนน้อยเท่านั้นที่จะยังคงทำงานเดิม ดังนั้นจึงเกิดคำถามว่า “ส่งเงินไป 15 ปี แล้วลาออกจากประกันสังคม มาตรา 33 มาสมัคร มาตรา 39 จะได้บำนาญไหม?”
  • เมื่ออายุครบ 55 ปี จะยังคงได้รับเงินบำนาญเหมือนเดิม แต่การคิดฐานเงินเดือนขั้นต่ำจะเปลี่ยนไปด้วย จากเดิม มาตรา 33 ฐานเงินเดือนขั้นต่ำสูงสุดอยู่ที่ 15,000 บาท จะเหลือเพียงเดือนละ 4,800 บาทหากเปลี่ยนมาเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 เนื่องจากผู้ประกันตนในมาตรา 39 กำหนดให้ผู้ประกันตนส่งเงินเข้ากองทุน 432  บาทต่อเดือน และรัฐบาลจะช่วยสมทบอีก 120 บาทต่อเดือนเท่านั้น นั่นหมายความว่าเวลาคำนวณเงินชราภาพ ก็จะคิดจากฐานเงินเดือนที่น้อยลงตามไปด้วยทันที
  • กรณีที่สอง “หากส่งเงินสมทบไป 12 ปี แล้วลาออกตอนอายุ 37 ปี จะได้เงินชราภาพประกันสังคมไหม?”

        คำตอบคือ ได้ แต่จะได้รับในส่วนของเงินบำเหน็จ ตามจำนวนเงินที่ได้จ่ายสมทบ บวกกับเงินที่นายจ้างและผลประโยชน์ตอบแทนอื่น ๆ โดยจะไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินบำนาญ เพราะว่าสมทบไม่ถึง 15 ปี ซึ่งการรับเงินบำเหน็จนั้นจะได้รับเป็นเงินก้อน แต่ก็ต้องรอจนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ก่อนถึงจะได้เงินส่วนนั้น

 

วันที่ 2020-04-07

บริการ
ข่าว
Copyright © 2024 A.R. Accounting Consultant Co., Ltd. All Right reserved. Privacy Notice  Privacy Policy  Cookies Policy