บังคับใช้ทุกคน ไม่ใช่แค่ค้าขายออนไลน์
สำหรับสาระสำคัญของ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 คือ การให้ธนาคาร สถาบันการเงิน ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน (E-Wallet) มีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะในปีที่ล่วงมา เฉพาะที่อยู่ในความครอบครองต่อกรมสรรพากร ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
โดยกรมสรรพากร ได้ออกมาระบุผ่านเพจเฟซบุ๊ก กรมสรรพากร (Revenue Department) ว่า พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว เพื่อรองรับระบบภาษี และเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ตามแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment Master Plan อีกทั้ง อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษี จากเดิมผู้เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในอัตรา 3% จะต้องเตรียมเอกสารมายื่นต่อกรมสรรพากรเอง แต่สถาบันการเงินจะหักภาษี และเป็นผู้ยื่นให้แทนทั้งหมด รวมทั้งเป็นการรองรับการยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จากเดิมที่ต้องยื่นเอกสารเป็นกระดาษ ก็จะเปลี่ยนเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์แทน
ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ e-Tax Invoivce/e-Receipt ผู้ประกอบการสามารถจัดทำใบกำกับภาษี และใบรับในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถส่งข้อมูลใบกำกับภาษีผ่านช่องทางที่กรมสรรพากรกำหนด (รายละเอียดเพิ่มเติม eTax.rd.go.th) สำหรับบริการ e-Withholding Tax ผู้จ่ายเงินได้สามารถเลือกตัวจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายผ่านตัวกลาง เช่น ธนาคาร ได้เป็นต้น รวมถึง e-Filing รองรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีครบทุกรูปแบบ ซึ่งเพิ่มช่องทางการยื่นแบบออนไลน์ รวมถึงรองรับการยื่นแบบภายในเวลาหรือเกินกำหนดระยะเวลา
ธนาคารส่งบัญชีให้สรรพากร บังคับใช้ทุกคนไม่ใช่แค่แม่ค้าออนไลน์
Date : 25/12/2020
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2562
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2562 โดยมีเหตุผลและความจำเป็นเพื่อการจัดเก็บภาษีเป็นไปย่างมีประสิทธิภาพและเสรีภาพอันจะเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ
วันที่ 2019-06-26