สำหรับผู้ประกอบการที่ได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ โดยจะขอคืนภาษีทางกรมสรรพากรจะคำนวณจากภาษีขายหักกับภาษีซื้อ นั่นก็หมายความว่าผู้ประกอบการที่ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ต้องขายสินค้าได้น้อยกว่าสินค้าที่ซื้อมาเพื่อประกอบการผลิตสินค้าของบริษัท ซึ่งมีสิทธิ์ขอคืนได้ 2 วิธีด้วยกัน
ขอคืนเงินสด
สำหรับการขอคืนเงินสดจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ทำการยื่นแบบแสดงรายการภาษีแล้วมีการคำนวณแล้วว่าภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายและมีเครดิตภาษีเหลืออยู่ ผู้ประกอบการสามารถขอคืนภาษีเป็นเงินสดได้ หรือจะเลือกให้โอนเข้าบัญชีธนาคารของบริษัทก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยผู้ประกอบการจะต้องทำการลงรายมือชื่อในช่องขอคืนภาษีเป็นเงินสดหรือโอนเข้าบัญชีธนาคารของบริษัท
ขอคืนเครดิต
สำหรับเครดิตภาษี คือผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีแล้ว แลมีเครดิตภาษีคงเหลืออยู่จากการคำนวณภาษีในเดือนที่ผ่านมา สามารถนำเครดิตภาษีส่วนนี้ยกไปชำระในเดือนถัดไปได้ และถ้าหากยังมีเครดิตภาษีเหลืออยู่อีก ก็สามารถนำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัด ๆ ไปได้เช่นกันจนกว่าเครดิตภาษีที่คงเหลืออยู่จะหมดไป ดังนั้นสำหรับใครที่จะขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเครดิตภาษีเพื่อนำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในเดือนถัดไป ไม่ต้องลงรายมือชื่อในช่องการขอคืนภาษี แต่ถ้าไม่ได้นำเครดิตภาษีไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไป จะไม่สามารถนำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชำระภาษีในเดือนอื่น ๆ ได้ เช่นมีเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มคงเหลืออยู่ในเดือนมกราคม สามารถนำเครดิตภาษีคงเหลือในเดือนมกราคมไปชำระภาษีในเดือนกุมภาพันธ์ได้ แต่ไม่สามารถนำไปชำระภาษีในเดือนมีนาได้ ทั้งนี้หากผู้ประกอบการต้องการขอเครดิตภาษี เพื่อนำไปชำระเดือนมีนาคมก็สามารถขอคืนเป็นเงินสดได้ โดยการยื่นแบบคำร้อง ค.10
เผยแพร่เมื่อ 16 พ.ย. 2018