ธุรกิจ SMEs เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีการเติบโตสูงขึ้นในระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ซึ่งต้องมีการเสียภาษีอากรเหมือนกับธุรกิจอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ตามประมวลรัษฎากรได้มอบหมายให้ทางกรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บภาษีของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมีการจัดเก็บภาษีหลัก ๆ 5 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สำหรับผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีอยู่แล้วจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เนื่องจากเป็นภาษีที่จะจัดเก็บจากบุคคลทั่วไป ร่วมถึงหน่วยงานพิเศษต่าง ๆ ตามกฎหมายกำหนด เป็นการเรียกเก็บภาษีเงินได้จากเงินเดือน หรือรายได้ในแต่ละเดือน ซึ่งต้องมีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด
2.เงินได้นิติบุคคล
เป็นการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการประกอบกิจการที่เป็นบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยคำนวณจากกำไรสุทธิ เมื่อได้ยอดรวมกำไรสุทธิแล้ว ผู้ประกอบการธุรกิจ SME ที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจะต้องทำการเสียภาษีในอัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ
3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม
หรือที่เราคุ้นเคยกันดีกับคำว่า VAT เป็นหนึ่งในประเภทภาษีทางอ้อมที่จะทำการเรียกเก็บจากผู้ซื้อผลิตภัณฑ์และผู้รับบริการ แต่ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คือผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือบริการ โดยเป็นการคำนวณจากภาษีขาย และภาษีซื้อ
4.ภาษีธุรกิจเฉพาะ
เป็นอีกหนึ่งภาษีทางอ้อมจะจัดเก็บจากผู้ประกอบกิจการเฉพาะ โดยเริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2535 พร้อม ๆ กับภาษีมูลค่าเพิ่มแทนที่ภาษีการค้า ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะ ได้แก่ บุคคลธรรมดา นิติบุคคล คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล กองทุน องค์การของรัฐบาล หรือสหกรณ์ ที่ไม่สามารถเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เช่น ธนาคาร ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจประกันชีวิต การรับจำนำ แลกเปลี่ยนเงินตรา การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน และอื่น ๆ
5. อากรแสตมป์
เป็นหนึ่งในภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร โดยลักษณะของอากรแสตมป์จะคล้าย ๆ กับแสตมป์ไปรษณีย์ ซึ่งจะใช้ติดบนหนังสือราชการ หรือเอกสารสำคัญต่าง ๆ ตัวอย่างเอกสารที่ต้องใช้อากรแสตมป์ เช่น เช่าซื้อทรัพย์สิน ใบมอบอำนาจ เอกสารค้ำประกัน หนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน และเอกสารสำคัญอื่น ๆ ที่ต้องใช้ในราชการ
เผยแพร์เมื่อ 16 พ.ย. 2018