ต้องเข้าใจก่อนว่าภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น หากองค์กรใดเข้าข่ายอยู่ในกลุ่มธุรกิจเฉพาะและเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อป้องกันการเก็บภาษีซับซ้อน ซึ่งภาษีเฉพาะนั้นเป็นภาษีทางอ้อมที่จะเรียกเก็บจากฐานบริโภคทั่วไป โดยผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะคือ บุคคลธรรมดา, คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคล แต่หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าแล้วธุรกิจใดบ้างที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะได้บ้าง
ธุรกิจที่หนึ่ง : ธนาคาร
ยกเว้นกิจการของธนาคารแห่งประเทศไทยได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารอาคารสงเคราะห์ อัตราภาษีร้อยละ 3.0 ฐานภาษีคือ ดอกเบี้ย, ส่วนลด, ค่าธรรมเนียม, ค่าบริการ
ธุรกิจที่สอง : การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเครดิตฟอร์ซิเอร์ ธุรกิจหลักทรัพย์
อัตราภาษีร้อยละ 3.0 ฐานภาษีคือ ส่วนลด ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือกำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จากการขายคืนหลักทรพย์
ธุรกิจที่สาม : การรับประกันชีวิต
อัตราภาษีร้อยละ 2.5 ฐานภาษีคือ ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ
ธุรกิจที่สี่ : การรับจำนำ
อัตราภาษีร้อยละ 2.5 ฐานภาษีคือ ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมหรือเงินที่ได้รับจากการขายของที่จำนำหลุด
ธุรกิจที่ห้า : การให้กู้ยืมเงิน ค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตราและซื้อขายตั๋วเงิน
อัตราภาษีร้อยละ 3.0 ฐานภาษีคือ รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จากการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตรา การออกตั๋วเงินหรือการส่งเงินไปต่างประเทศ
ธุรกิจที่หก : ธุรกิจขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร
อัตราภาษีร้อยละ 0.1 ฐานภาษีจากรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ
การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น จะเป็นการเสียภาษีรายเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป นอกจากนี้ผู้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ยังต้องเสียภาษีอื่น ๆ ควบคู่กันไปอีกด้วย
แหล่งที่มา : กรมสรรพากร
เผยแพร่เมื่อ 27 พ.ย. 2018