Logo-สำนักงานบัญชี-ARAC
จริงหรือไม่! ค่าโฆษณาบน Facebook, Google นำมาเป็นรายจ่ายธุรกิจได้
Date : 22/01/2021
เมื่อพูดถึงการทำโฆษณา สื่อที่กำลังได้รับความนิยมอย่างยิ่งคงหนีไม่พ้นสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งในปัจจุบันบริษัทต่าง ๆ ก็ได้หันมาจ่ายเงิน เพื่อทำโฆษณาผ่าน Facebook, Google หรือ YouTube

           เมื่อพูดถึงการทำโฆษณา สื่อที่กำลังได้รับความนิยมอย่างยิ่งคงหนีไม่พ้นสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งในปัจจุบันบริษัทต่าง ๆ ก็ได้หันมาจ่ายเงิน เพื่อทำโฆษณาผ่าน Facebook, Google หรือ YouTube กันเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีความสะดวก ราคาถูกและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง ดังนั้นเมื่อธุรกิจได้จ่ายเงินเพื่อทำโฆษณา จึงทำให้เกิดคำถามว่า “รายจ่ายที่ธุรกิจจ่ายเป็นค่าโฆษณาบน Facebook หรือ Google นั้นสามารถนำมาหักภาษีได้จริงหรือไม่? วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนได้ทราบกันและแน่นอนว่ามันต้องเป็นข่าวดี แต่เงื่อนไขจะเป็นอย่างไรไปดูกัน

            รายจ่ายของธุรกิจที่จ่ายเป็นค่าโฆษณาบน Facebook หรือ Google นั้นสามารถนำมาจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายของธุรกิจได้จริง แต่การนำค่าใช้จ่ายประเภทนี้มาหักภาษีได้นั้นมีรายละเอียดและเงื่อนไขดังต่อไปนี้

            อย่างแรกเป็นบริษัทที่มีการจดทะเบียนบริษัทหรือธุรกิจรูปแบบนิติบุคคล โดยการทำโฆษณาบน Facebook และ Google นั้นจะต้องทำการชำระเงินในนามของบริษัทฯ หรือบุคคลที่เป็นเจ้าของบริษัทเท่านั้น เช่นชำระเงินค่าโฆษณาผ่านบัตรเครดิตในนามบริษัท เป็นต้น เนื่องจากค่าใช้จ่ายประเภทนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในบริษัท และมีหลักฐานการชำระเงินถูกต้องครบถ้วน แต่สำหรับบริษัทที่จ่ายในนามของกรรมการหรือเจ้าของบริษัท จะต้องมีใบเสร็จรับเงินออกในนามของเจ้าของ อ้างอิงตามมาตรา 65 ตรี(13) แห่งประมวลรัษฎากรสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคล

            โดยการจ่ายโฆษณาบน Facebook และ Google จะต้องเกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยตรงเท่านั้น อย่างเช่น โฆษณาเกี่ยวกับสินค้าของบริษัท เป็นต้น ซึ่งจะใช้ได้ถึง 2 ภาษีด้วยกัน ภาษีแรกคือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีที่สองคือ ภาษีมูลค่าเพิ่มต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะอาจถูกปรับจากกรมสรรพากรได้ แม้ว่าบริการนี้จะเป็นการให้บริการต่างประเทศ แต่มีการใช้บริการในประเทศไทยจึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งธุรกิจจะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยแบบ ภ.พ. 36 ในอัตราร้อยละ 7% อย่างไรก็ตามการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ธุรกิจสามารถใช้หักภาษีขายที่ต้องจ่ายในเดือนถัดไปได้

 

เผยแพร่เมื่อ 27 พ.ย. 2018

บริการ
ข่าว
Copyright © 2024 A.R. Accounting Consultant Co., Ltd. All Right reserved. Privacy Notice  Privacy Policy  Cookies Policy