Logo-สำนักงานบัญชี-ARAC
ค่าน้ำมันรถ สามารถนำมารายงานในภาษีซื้อของกิจการได้หรือไม่ ?
Date : 22/01/2021
หลาย ๆ บริษัทจะมีรถ เพื่อดำเนินการในการขนส่งสินค้าและบริการ ซึ่งรถเหล่านั้นจำเป็นต้องใช้น้ำมันในการขับเคลื่อน และค่าน้ำมันจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มที่กิจการสามารถนำค่าใช้จ่ายน้ำมันมาเครดิตภาษีซื้อ

            หลาย ๆ บริษัทจะมีรถ เพื่อดำเนินการในการขนส่งสินค้าและบริการ ซึ่งรถเหล่านั้นจำเป็นต้องใช้น้ำมันในการขับเคลื่อน และค่าน้ำมันจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มที่กิจการสามารถนำค่าใช้จ่ายน้ำมันมาเครดิตภาษีซื้อ ที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะได้

            อย่างไรก็ตามค่าน้ำมันที่เติมไปกับรถยนต์ที่ใช้ในกิจการ มีเงื่อนไขอยู่หลายประการด้วยกัน ไม่ใช่ว่าค่าน้ำมันของรถยนต์ทุกประเภทจะสามารถนำมาเครดิตภาษีซื้อได้ เนื่องจากรถบางประเภทหักได้ แต่บางประเภทก็ไม่สามารถนำมาหักได้ ดังนั้นกิจการที่จะนำค่าน้ำมันมาเครดิตภาษีซื้อต้องรู้ก่อนว่ารถของตนเองนั้นอยู่ในเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่

รถเพื่อการพาณิชย์หรือรถนั่งเกิน 10 ที่นั่ง

  • ต้องเป็นรถของกิจการ หรือรถที่ได้ทำสัญญาเช่าและยินยอมให้ใช้ในกิจการเท่านั้น
  • รถเพื่อการพาณิชย์ คือ รถตู้ รถกระบะ รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก หรือรถเกิน 10 ที่นั่ง
  • น้ำมันของรถที่อยู่ในเงื่อนไขนำมาเครดิตภาษีซื้อได้นั้น ไม่ว่าจะใช้น้ำมันดีเซล, เบนซินหรือแก๊สโซฮอล์ก็ได้
  • ค่าน้ำมันที่นำมาเครดิตจะต้องหักภาษีมูลค่าเพิ่มออกแล้ว

รถไม่เกิน 10 ที่นั่ง

  • น้ำมันทุกชนิดของรถไม่เกิน 10 ที่นั่ง นำมาเครดิตภาษีซื้อไม่ได้ ย้ำอีกครั้งว่าไม่ได้
  • แต่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้เต็มจำนวน
  • รถต้องเป็นรถที่ใช้ในกิจการ หรือรถที่ได้ทำสัญญาเช่า และยินยอมให้กิจการใช้เท่านั้น

เอกสารที่ใช้ในการนำมาเครดิตภาษีซื้อและหักเป็นค่าใช้จ่าย ได้แก่

  • ใบกำกับภาษีที่จะนำมาเครดิตภาษีซื้อและหักเป็นค่าใช้จ่าย จะต้องเป็นใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบตัวจริงเท่านั้น ใบกำกับภาษีอย่างย่อไม่สามารถนำมาใช้ได้
  • หากใบกำกับภาษีจางและข้อมูลหายไป ต้องดำเนินการขอจากบริษัทผู้ออกใบกำกับภาษีเท่านั้น และทำการสำเนาจากตัวต้นฉบับแล้วทำการรับรองว่าเป็นใบแทนใบกำกับภาษีตัวจริง รวมถึงต้องระบุด้วยว่าออกให้ใคร  เนื่องจากอะไร เมื่อวันที่เท่าไร
  • ใบกำกับภาษีที่จะนำมาใช้เครดิตภาษี ต้องมีข้อมูลครบถ้วน ได้แก่

                   1. คำว่า “ ใบกำกับภาษี “

                   2. ชื่อ – ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขาย

                   3. ชื่อ – ที่อยู่ของผู้ซื้อ

                   4. เลขที่ใบกำกับภาษี

                   5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า/บริการ

                   6. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้า/บริการ

                   7. วัน เดือน ปีที่ออกใบกำกับภาษี

                   8. อื่น ๆ ตามอธิบดีกำหนด

  • ใบเสร็จรับเงินของค่าน้ำมันสามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้เต็มจำนวน
  • จดบันทึกการเดินทางของรถในแต่ละวันด้วย

 

ที่มาข้อมูลจาก : กรมสรรพากร

เผยแพร่เมื่อ 27 พ.ย. 2018

บริการ
ข่าว
Copyright © 2024 A.R. Accounting Consultant Co., Ltd. All Right reserved. Privacy Notice  Privacy Policy  Cookies Policy