เป็นเรื่องจริงที่รายได้ส่วนใหญ่ของรัฐมาจาก “ภาษี” ของประชาชน แต่รายได้จากประชาชนก็ยังไม่พอกับค่าใช้จ่ายของประเทศในแต่ละปี ดังนั้นจึงต้องมีการจัดเก็บภาษีจากส่วนอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างครอบคลุม อยากรู้หรือไม่ว่าภาษีทั้งหมดมาจากไหน และมีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะมาดูกันเวลาเสียภาษีจะได้สบายใจมากขึ้น
เงินจากเรียกเก็บภาษีมาจากไหน?
เงินที่ได้จากการเก็บภาษีมาจาก 4 หน่วยงานหลักด้วยกัน ได้แก่
- กรมสรรพากร
เป็นรายได้ที่มาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม อากรแสตมป์ ภาษีการรับมรดก และอื่น ๆ
- กรมสรรพสามิต
เป็นรายได้ที่มาจากภาษีน้ำมัน ภาษียาสูบ ภาษีสุรา ภาษีเบียร์ ภาษีรถยนต์ ภาษีเครื่องดื่ม ภาษีเครื่องไฟฟ้า ภาษีรถจักรยานยนต์ ภาษีแบตเตอรี่ และภาษีอื่น ๆ รวมถึงรายได้เบ็ดเตล็ด
- กรมศุลกากร
เป็นรายได้ที่มาจากอากรขาเข้า อากรขาออก และอื่น ๆ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่มาจากอากรขาเข้ามากถึง 88,997.18 ล้านบาท
- หน่วยงานอื่น ๆ
เป็นรายได้ที่มาจากรัฐวิสาหกิจ กรมธนารักษ์ และ ส่วนราชการอื่น ๆ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่มาจากรัฐวิสาหกิจ
เงินที่รัฐได้จากภาษี และอื่น ๆ จะเป็นงบประมาณที่เก็บไว้ใช้จ่ายในแต่ละปี โดยจะแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มงานใหญ่ ๆ ด้วยกัน ดังต่อไปนี้
- งบประมาณกลาง
- กลุ่มงบประมาณรายจ่ายกระทรวง/หน่วยงาน (Function)
- กลุ่มงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ (Agenda)
- กลุ่มงบประมาณรายจ่ายพื้นที่ (Area)
- กลุ่มงบประมาณรายจ่ายบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ
- กลุ่มงบประมาณแผนงานบุคลากรภาครัฐ
ซึ่งจากกลุ่มงบประมาณทั้ง 6 กลุ่มนี้ ถ้าอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือแบ่งงบประมาณไปใช้ตามลักษณะงานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- การป้องกันประเทศ
- การรักษาความสงบภายใน
- การบริหารทั่วไปของรัฐ
- การพัฒนาเศรษฐกิจ
- การสังคมสงเคราะห์
- สิ่งแวดล้อม
- เคหะและชุมชน
- สาธารณสุข
- การศึกษา
- ศาสนา วัฒนธรรมและนันทนาการ
เผยแพร่เมื่อ 25 ธ.ค. 2018