Logo-สำนักงานบัญชี-ARAC
ภาษี 2562 : บริจาคเงิน เพื่อสนับสนุนการศึกษา ลดหย่อนได้ 2 เท่า
Date : 25/01/2021
ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลที่จดทะเบียนบริษัท ฟังทางนี้!! อัปเดตมาตรการภาษีสำหรับปี 2562

         ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลที่จดทะเบียนบริษัท ฟังทางนี้!! อัปเดตมาตรการภาษี สำหรับปี 2562 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบริจาคเงิน เพื่อสนับสนุนการศึกษา ผู้มีเงินได้คนไทยสนใจ สามารถบริจาคได้ง่าย ๆ ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Donation

          สำหรับสถานศึกษาที่สามารถบริจาคเงิน เพื่อลดหย่อนภาษีได้นั้น ผู้มีเงินได้สามารถบริจาคเงินให้กับสถานศึกษา ทั้งรัฐและเอกชน โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อหรือหน่วยรับบริจาคก่อนทำการบริจาคได้ เพราะบางโรงเรียนก็ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ต่อไปมาดูกันว่าใครบ้างที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนนี้ได้

ใครมีสิทธิลดหย่อนภาษี ได้บ้าง?

สำหรับผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดา

          ผู้มีเงินได้ประเภทนี้ คือ บุคคลที่มีเงินได้ตามมาตรา 47 (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถหักลดหย่อนได้สูงสุด 2 เท่า แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมิน หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนส่วนตัวแล้ว

          ตามการชี้แจงทางกฎหมาย อาจทำให้หลาย ๆ คนสับสน  เพราะผู้เขียนอ่านตอนแรกก็งง เหมือนกัน แต่ถ้าอ่านแลวิเคราะห์ดี ๆ จะแปลเป็นภาษาธรรมดาได้ว่า

  • เงินได้พึงประเมิน หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนส่วนตัว

          คือ (เงินเดือน/รายได้) – (หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท) – (ค่าลดหย่อนส่วนตัว) = เงินได้สุทธิ

  • 10% ของเงินได้พึงประเมิน

          คือ (เงินได้สุทธิ) – 10% = ค่าลดหย่อนสูงสุดที่สามารถนำมาหักลดหย่อนเงินได้สุทธิ

  • หักลดหย่อนได้สูงสุด 2 เท่า

          คือ (เงินบริจาค) x 2 = ค่าลดหย่อนที่นำมาหักเงินได้สุทธิ แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้สุทธิ

ตัวอย่างเช่น : เราคำนวณเงินได้สุทธิออกมาได้ 320,000 บาท และได้บริจาคเงิน เพื่อสนับสนุนการศึกษาไป 17,000 บาท

  • ขั้นตอนที่ 1 คำนวณค่าลดหย่อนสูงสุด ไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประมาณ

          : 320,000 – 10% = 32,000

  • ขั้นตอนที่ 2 คำนวณเงินบริจาค ลดหย่อนได้ 2 เท่า

           : 17,000 x 2 = 34,000

  • ขั้นตอนที่ 3 นำค่าลดหย่อนไปหักเงินได้สุทธิ

           : 320,000 – 32,000 = 288,000

          ดังนั้นในตัวอย่างนี้ผู้มีเงินได้สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 32,000 ซึ่งกรณีนี้เป็นเงินบริจาค x 2 ที่คำนวณแล้วเกินเพดาน 10% ของเงินได้สุทธิ จึงลดหย่อนได้เพียง 32,000 เท่านั้น

สำหรับผู้มีเงินได้นิติบุคคล

          ผู้ที่มีเงินได้ประเภทนี้จะต้องทำการจดทะเบียนบริษัทก่อน ถึงจะสามารถบริจาคเงิน หรือทรัพย์สิน สามารถนำมาลดหย่อนได้สูงสุด 2 เท่า แต่ไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลหรือสาธารณประโยชน์ และเพื่อการศึกษาและกีฬา

          ในกรณีของนิติบุคคลไม่ต่างจากบุคคลธรรมดา เพียงแค่เรียกแตกต่างกันเท่านั้น เพราะในส่วนของนิติบุคคลจะเรียกว่า กำไรสุทธิ คือการนำรายได้ – ค่าใช้จ่าย มาคำนวณหักค่าลดหย่อน ซึ่งการหักค่าใช้จ่ายของนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาจะแตกต่างกันไป โปรดศึกษาก่อนทำการคำนวณ

 

           บริษัท เอ.อาร์.แอ็คเคานติ้ง คอนซัลแตนท์ จำกัด (ARAC) ให้บริการจดทะเบียนธุรกิจ บริการจดทะเบียนบริษัท ทุกประเภท รวมถึงให้คำปรึกษาด้านภาษี ติดต่อ : 02-439-4600 หรือ arac@ar.co.th

 

เผยแพร่เมื่อ 21 มี.ค. 2019

บริการ
ข่าว
Copyright © 2024 A.R. Accounting Consultant Co., Ltd. All Right reserved. Privacy Notice  Privacy Policy  Cookies Policy