Logo-สำนักงานบัญชี-ARAC
เริ่มแล้ว กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์ สิ่งที่ร้านค้าออนไลน์ควรทราบ
Date : 25/01/2021
ใครว่าขายของออนไลน์ หรืออีคอมเมิร์ซจะมีแต่ได้กับได้เสมอไป เพราะในปี 2562 ถึงเวลาเริ่มต้นจัดระเบียบร้านค้าออนไลน์ให้ถูกต้องแล้ว

        ใครว่าขายของออนไลน์ หรืออีคอมเมิร์ซจะมีแต่ได้กับได้เสมอไป เพราะในปี 2562 ถึงเวลาเริ่มต้นจัดระเบียบร้านค้าออนไลน์ให้ถูกต้องแล้ว ซึ่งหลายคนค่อนข้างกังวลว่านี่เป็นการขูดรีดขายของหรือไม่ ตามที่ได้กล่าวไปในบทความ “ภาษีอี-เพย์เมนต์ ขูดรีดผู้ประกอบการออนไลน์จริงหรือไม่” เราได้สรุปไปแล้วว่าภาษีอีเพย์เมนต์ ไม่ได้ขูดรีดคนขายของออนไลน์ หรือผู้ประกอบการรายย่อยแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการสกัดกั้นผู้มีรายได้ถึงเกณฑ์แล้วหลีกเลี่ยงภาษีเท่านั้น ส่วนใครรายได้ไม่ถึงไม่ต้องกังวลไป

กฎหมายอีเพย์เมนต์เริ่มใช้วันไหน?

        ในวันนี้  (21 มีนาคม 2019) เริ่มต้นใช้กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์อย่างจริงจัง ส่วนวิธีการรายงานและข้อมูลที่จะใช้รายงานต่อกรมสรรพากรจะเป็นไร มาดูกัน...

เหตุผลของการประกาศใช้กฎหมายอีเพย์เมนต์

        การจำกัดสิทธิและเสรีภาพตามพระราชบัญญัตินี้ มีเหตุผลก็เพื่อให้การจัดเก็บภาษีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และต้องการทำให้ผู้ประกอบการได้รับความเท่าเทียมอยู่บนฐานภาษีเดียวกัน เพราะในตอนนี้ผู้มีรายได้หลีกเลี่ยงภาษีเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้จากการขายของบนออนไลน์ที่มีรายได้มากมาย แต่ไม่สามารถตรวจสอบได้ ดังนั้นการเริ่มใช้กฎหมายอีเพย์เมนต์จึงเป็นทางออกที่ดีในการสร้างความเสมอภาคในประเทศไทย

ใครมีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมของแต่ละบุคคลต่อกรมสรรพากร?

  • สถาบันการเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
  • สถาบันการเงินของรัฐ ที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
  • ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ตามกฎหมายว่าด้วยการชำระเงิน

        โดยผู้มีหน้าที่รายงานข้อมูลเหล่านี้ จะต้องรายงานข้อมูลการทำธุรกรรมเฉพาะ หรือธุรกรรมที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งในปีที่ผ่านมา ดังต่อไปนี้

  • ฝากหรือรับโอนทุกบัญชี รวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้ง ขึ้นไป
  • ฝากหรือรับโอนทุกบัญชี รวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดรวมของธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงิน รวมกันตั้งแต่ 2 ล้านบาท ขึ้นไป

        ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้จะถูกเก็บไว้นานถึง 10 ปี นับตั้งแต่วันที่กรมสรรพากรได้รับข้อมูล โดยให้อธิบดีมีหน้าที่ในการเก็บรักษาข้อมูลเหล่านี้ ส่วนการรายงานข้อมูลธุรกรรมจะเริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ร้านค้าออนไลน์ ไม่ว่าจะร้านเล็กหรือร้านใหญ่ หากมีการทำธุรกรรมเกินที่กฎหมายกำหนดข้อมูลจะถูกส่งให้กรมสรรพากร เพื่อให้กรมสรรพากรได้รับข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี และทำให้ประชาชนตระหนักถึงหน้าที่ของตนเองในการยื่นรายการภาษี และนำส่งเงินภาษี

 

เผยแพร่เมื่อ 21 มี.ค. 2019

บริการ
ข่าว
Copyright © 2024 A.R. Accounting Consultant Co., Ltd. All Right reserved. Privacy Notice  Privacy Policy  Cookies Policy