Logo-สำนักงานบัญชี-ARAC
4 ขั้นตอนควรทำเมื่อสรรพากรขอพบ
Date : 25/01/2021
ทำยังไงดี? เมื่อพี่สรรพากรขอพบ เชื่อว่าปัญหานี้อาจจะเกิดขึ้นกับใครหลายคน วันนี้เลยนำ 4 ขั้นตอนที่ควรทำมาฝากกัน

     ทำยังไงดี? เมื่อพี่สรรพากรขอพบ เชื่อว่าปัญหานี้อาจจะเกิดขึ้นกับใครหลายคน วันนี้เลยนำ 4 ขั้นตอนที่ควรทำมาฝากกัน ว่าควรจะทำยังไงกันดี ถ้าหากเราโดยเรียกพบแบบนี้ขึ้นมาจริงๆ 

 

     4 ขั้นตอนที่ว่าไม่ใช่เป็นการหาเรื่อง หรือเอาชนะสรรพากรแต่อย่างใด แต่เป็นแนวทางในการตรวจสอบดูว่าเราควรจัดการปัญหาแบบนี้อย่างไร โดยการตรวจสอบข้อมูล จัดการเอกสาร ไปถึงการเคลียร์ และมองในแง่ของความเห็นใจต่อสรรพากรที่ทำงานเช่นเดียวกัน

ข้อแรก : ถ้าสรรพากรเรียกพบต้องไปพบ

     ต้องบอกก่อนว่าระบบภาษีบ้านเราเป็นการประเมินตัวเอง ถ้าหากเราประเมินยื่นภาษีถูกต้องโอกาสที่จะโดนเรียกพบนั้นจะน้อยมาก ๆ (เว้นแต่มีประเด็นขอคืนภาษี) แต่เมื่อมีประเด็นหรือข้อผิดพลาดใด ๆ สรรพากรจะเชิญพบ โทรหา หรือออกหนังสืออื่น ๆ มาเพื่อเรียกเราไปพบ

     การจะไปพบนั้น จะต้องมีหนังสือมาเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น ซึ่งถ้ามีหนังสือมาถึงบ้านเราเมื่อไร หน้าที่เราคือ “ต้องไป” หรือ “มอบอำนาจให้คนอื่นไป” ตามวันที่นัดหมายในหนังสือนั้นครับ ถ้าหากวันนั้นไม่สะดวกก็สามารถโทรไปพูดคุยก่อนหรือขอเลื่อนได้ ไม่ต้องกลัว

ข้อสอง : เช็คให้ชัวร์ว่าเราทำผิดอะไร

     อีกเรื่องหนึ่งคือ เราต้องรู้ว่าประเด็นที่เชิญพบคืออะไร เราทำผิดไหม หรือมีข้อสงสัยอะไร หรือแค่เชิญไปเป็นพยานหาข้อมูลเพิ่มเติมในบางเรื่อง เพื่อที่จะได้เตรียมตัวให้ถูกต้องตามประเด็นที่แจ้งมา หรือว่าหาเอกสารข้อเท็จจริงประกอบประเด็นนั้นๆ

     บางคนเห็นจดหมายมาถึงบ้านก็โมโหจนลืมอ่านไปก็มี แนะนำให้ลองอ่านดี ๆ เช็คให้แน่ใจก่อนว่ามีอะไร จะได้เตรียมข้อมูลและหลักฐานรับมือได้ถูกต้องจ้า หรือถ้าอ่านภาษาราชการไม่เข้าใจ ในเอกสารที่สรรพากรส่งมานั้นจะมีเบอร์โทรศัพท์ให้ติดต่ออยู่แล้วนะ โทรไปถามเค้าได้เลย

ข้อสาม : เตรียมข้อมูลอื่น ๆ ให้พร้อม

      ส่วนใหญ่แล้วเราต้องเตรียมเอกสารเกี่ยวกับเรื่องที่ถูกเรียกพบอยู่แล้ว แต่ถ้าหากมีประเด็นหรืออะไรเพิ่มเติมเจ้าหน้าที่ก็อาจจะสอบถามเราได้ ดังนั้นเตรียมตัวตรงนี้ไว้แต่เนิ่น ๆ จะดีมาก เผื่อไว้ก่อน เช่น ขอพบเรื่องรายได้ที่ยื่นภาษีบุคคลธรรมดาขาดไป เรามั่นใจว่าเอกสารครบ เราอาจจะต้องเตรียมข้อมูลไปชี้แจง แต่ในส่วนของค่าลดหย่อนก็อาจจะต้องเตรียมเผื่อไว้ เพราะถ้าหากเจ้าหน้าที่ขอดูก็จะได้มีให้

      รวมถึงเตรียมตัวคนที่จะไปตอบประเด็นต่าง ๆ ให้พร้อม ถ้าหากไปเองก็ขอให้ตอบถูกต้องตามข้อเท็จจริง หรือถ้าหากให้คนไปแทนก็ต้องมั่นใจว่าเขารู้เรื่องจริง ๆ เพราะถ้าหากไม่รู้เรื่องแล้วไปแทนเรา (ตามที่เรามอบอำนาจ) บอกได้เลยว่าอันนี้ลำบากแน่นอน เกิดไปตอบในเรื่องที่ไม่จริงขึ้นมา บันทึกข้อมูลเป็นหลักฐานไว้ เราจะผิดได้

      แนะนำจริง ๆ ว่า ถ้าเป็นธุรกิจรายเล็ก ๆ อย่าง SMEs ถ้าพอมีเวลาเจ้าของธุรกิจควรไปกับคนที่มอบอำนาจ เพื่อจะได้รับทราบไปพร้อม ๆ กัน

ข้อสี่ : ประเมินแล้วเสียภาษีเลยไหม เคลียร์ยังไง

     ข้อนี้ขอพูดรวม ๆ ละกันนะคะ ถ้าหากทางพี่สรรพากรประเมินมาแล้วว่าเรามีความผิดในประเด็นนั้น สิ่งที่เราควรเช็คก่อนคือ

1. เราทำถูกต้องจริงไหม? หรือผิดตามที่ว่ามาหรือไม่

2. เราพร้อมจะเสียเวลาโต้แย้งหรือเปล่า

 

     ถ้าหากเราทำถูกต้องจริง ๆ และมั่นใจว่าโต้แย้งได้ สิ่งที่ต้องมอง คือเราจะยอมเสียเวลาไหม และการโต้แย้ง หาเอกสารหลักฐานเพิ่มต่าง ๆ พวกนี้ต้องใช้เวลา ซึ่งเราโอเคกับเวลาที่เสียไปหรือเปล่า?

 

      บางคนเลือกที่จะเสียเวลาเพื่อความถูกต้อง บางคนก็เลือกที่จะจ่ายไปเพราะคิดว่าไม่อยากเสียเวลา จ่าย ๆ ไปก็จบจะได้ไปทำมาหากิน อันนี้ก็แล้วแต่ทางไหนดีกว่า แต่ขอให้รับรู้ว่าเราเลือกเพราะอะไรก็พอ

      แต่ถ้า “ผิดจริง” ก็ต้องจ่าย และควรเจรจาขอลดในบางประเด็นที่ทำได้ เช่น เบี้ยปรับ หรือเงินเพิ่ม เป็นต้น ตรงนี้แนะนำให้หาข้อมูลเพิ่มเติมหรือสอบถามเจ้าหน้าที่ดูว่าจะสามารถยื่นคำร้องได้ที่ไหน กรณีใดบ้าง หรือว่าจะสามารถยื่นคำร้องได้ที่ไหน กรณีใดบ้าง หรือว่าจะมาสอบถาม ARAC ผ่านช่องทางต่าง ๆ ก็ได้ อันนี้ยินดีให้คำปรึกษาด้านภาษี

      สุดท้ายนี้ หวังว่าบทความสั้นๆ วันนี้จะทำให้คนเห็นแนวทางในการจัดการปัญหาเวลาโดยสรรพากรเรียกพบนะคะ

 

เผยแพร่เมื่อ 17 ก.ย. 2019

บริการ
ข่าว
Copyright © 2024 A.R. Accounting Consultant Co., Ltd. All Right reserved. Privacy Notice  Privacy Policy  Cookies Policy