Logo-สำนักงานบัญชี-ARAC
เทียบคนละครึ่ง กับช้อปดีมีคืน เลือกใช้สิทธิ์ไหนคุ้มค่าที่สุด
Date : 26/01/2021
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ คราวนี้มาถึงคิวของ “คนละครึ่ง” หลังจากปล่อยให้ใช้สิทธิ์ “เราเที่ยวด้วยกัน” ไปเมื่อเดือนกรกฎาคม

     ปล่อยมาเรื่อย ๆ กับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ คราวนี้มาถึงคิวของ “คนละครึ่ง” หลังจากปล่อยให้ใช้สิทธิ์ “เราเที่ยวด้วยกัน” ไปเมื่อเดือนกรกฎาคม โดยมาตรการทั้งสองนี้มีระยะเวลา 3 เดือนด้วยกัน แต่ผู้ที่จะใช้สิทธิ์สามารถเลือกใช้ได้แค่มาตรการเดียวเท่านั้น เพราะรัฐกำหนดว่า 1 คน สามารถใช้ได้แค่ 1 มาตรการ ฉะนั้นก่อนลงทะเบียนใช้สิทธิ์ ตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ ให้ดีก่อน จะได้มาตรการที่เหมาะกับคุณ

ความแตกต่างของโครงการคนละครึ่งกับช้อปดีมีคืน

คนละครึ่ง

  • สำหรับผู้ที่มีสัญชาติไทยที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน
  • ต้องลงทะเบียนเข้าร่วมในเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com
  • จำกัด 10 ล้านสิทธิ์
  • ต้องใช้สิทธิ์ภายใน 14 วัน
  • สิทธิประโยชน์ รัฐจะช่วยจ่ายค่าสินค้าให้ 50% ของมูลค่าสินค้า แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อวันต่อคน ซึ่งตลอดทั้งโครงการให้สูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน
  • ใช้สิทธิ์ซื้อสินค้าได้กับร้านอาหาร, เครื่องดื่ม และสินค้าทั่วไปที่เข้าร่วมโครงการ ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าขนาดเล็กหรือใหญ่ ทั้งหาบเร่ แผงลอย หรือร้านค้าในตลาด แต่ร้านค้านั้นต้องเข้าร่วมโครงการด้วยเช่นกัน
  • วิธีการจ่ายเงิน ต้องใช้ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” เท่านั้น
  • ไม่สามารถซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล เครื่องดื่มแอลกอลฮอล์ ยาสูบ

     สำหรับโครงการคนละครึ่ง คนที่ไม่ได้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและไม่ได้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถใช้สิทธิ์โครงการคนละครึ่งได้ ส่วนคนที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ใช้สิทธิ์ช้อปดีมีคืนแทน

ช้อปดีมีคืน

  • ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • สำหรับคนที่จะใช้สิทธิ์ในโครงการช้อปดีมีคืน ไม่ต้องลงทะเบียน
  • ใช้สิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม – 31 ธันวาคม
  • สิทธิประโยชน์ นำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการ มาหักลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุด 30,000 บาท
  • ซื้อสินค้าและบริการได้จากร้านที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษี
  • หากจะซื้อหนังสือ และสินค้าโอทอปที่ได้ลงทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว โดยมีใบเสร็จรับเงิน
  • ไม่สามารถใช้ได้กับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ สลากกินแบ่งรัฐบาล ค่าน้ำมันหรือก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ ค่าที่พัก ค่าบริการนำเที่ยว ค่ารถยนต์ ค่ารถจักรยานยนต์ ค่าเรือ ค่านิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
  • ลดหย่อนภาษีได้เท่าไรขึ้นอยู่กับรายได้ของแต่ละคน
  • เงินได้สุทธิต่อปี 150,001-300,000 บาท อัตราภาษีเงินได้ 5% สิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 1,500 บาท
  • เงินได้สุทธิต่อปี 300,001-500,000 บาท อัตราภาษีเงินได้ 10% สิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 3,000 บาท
  • เงินได้สุทธิต่อปี 500,001-750,000 บาท อัตราภาษีเงินได้ 15% สิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 4,500 บาท
  • เงินได้สุทธิต่อปี 750,001-1,000,000 บาท อัตราภาษีเงินได้ 20% สิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 6,000 บาท
  • เงินได้สุทธิต่อปี 1,000,001-2,000,000 บาท อัตราภาษีเงินได้ 25% สิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 7,500 บาท
  • เงินได้สุทธิต่อปี 2,000,001-5,000,000 บาท อัตราภาษีเงินได้ 30%สิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 9,000 บาท
  • เงินได้สุทธิต่อปี 5,000,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษีเงินได้ 35% สิทธิ์ได้คืนภาษีสูงสุด 10,500 บาท

     ถ้าหากเป็นผู้ที่มีเงินได้ 0-150,000 บาท หรือผู้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี จะไม่ได้สิทธิ์คืนภาษี ฉะนั้นแนะนำให้ไปลงทะเบียนใช้สิทธิ์คนละครึ่งดีกว่า

      

เผยแพร่เมื่อ 16 ต.ค. 2020

บริการ
ข่าว
Copyright © 2024 A.R. Accounting Consultant Co., Ltd. All Right reserved. Privacy Notice  Privacy Policy  Cookies Policy