
การที่คนคนหนึ่งจะเข้าสู่การสร้างธุรกิจของตัวเองในประเทศไทย ไม่ว่าจะเล็กหรือจะใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นชาวต่างชาติหรือเป็นคนไทย ประเด็กหลักที่ควรให้ความสำคัญคือจะเลือกทำธุรกิจรูปแบบไหนถึงจะเหมาะสมกับธุรกิจของคุณมากที่สุด ระหว่าง ‘บุคคลธรรมดา’ และ ‘นิติบุคคล’ เพราะสองรูปแบบนี้มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของการบริหารงานหรือในด้านของภาษีเองที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกับผู้ประกอบการ
ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจในรูปแบบของออนไลน์หรือออฟไลน์ ถ้าคุณเป็นผู้มีรายได้คุณก็ต้องรู้การบริหารงาน เพื่อดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะตัดสินใจดำเนินธุรกิจในรูปแบบใดก็ควรที่จะศึกษารายละเอียดของแต่ละธุรกิจให้ดีก่อน เราเคยระบุความแตกต่างของธุรกิจระหว่างนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาไว้แล้ว วันนี้เราจะมาลงลึกกันที่ การบริหารงานของ 2 รูปแบบนี้ที่มีการทำบัญชี, ความน่าเชื่อถือ และความรับผิดชอบในหนี้สินที่แตกต่างกัน
ในด้านของความน่าเชื่อถือ
แน่นอนว่าการทำธุรกิจ ในรูปแบบนิติบุคคลต้องมีความน่าเชื่อถือมากกว่าอยู่แล้ว เนื่องจากเหตุผลหลายประการดังต่อไปนี้
- ธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลเป็นการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทกับภาครัฐ ซึ่งต้องมีเอกสารมากกว่าคนที่ทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา
- ธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลจะต้องจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี ดังนั้นจึงต้องมีการวางระบบบัญชี เพื่อความถูกต้องและความน่าเชื่อถือส่งผลต่อการขยายธุรกิจ ติดต่อลูกค้าและการหาแหล่งเงินลงทุน
- ธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดาจัดตั้งง่ายกว่า และมีข้อบังคับน้อย ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นธุรกิจส่วนตัว ที่ไม่มีพนักงานเยอะหรือรายได้เทียบเท่ากับธุรกิจนิติบุคคล
- ธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา ไม่จำเป็นต้องจัดทำบัญชีตามมาตรฐานบัญชี
- ธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดามีความเสี่ยงสูง เนื่องจากตัวเจ้าของกิจการต้องแบกรับภาระทุกอย่างไว้ทั้งหมด
หากคุณเป็นธุรกิจขนาดเล็ก อาจจะทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดาไปก่อนได้ เพราะรูปแบบนิติบุคคลมีกฎหมาย และข้อบังคับที่มากกว่าบุคคลธรรมดา
ในด้านการทำบัญชี
ตามที่เราได้กล่าวไปข้างต้นว่า การธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลนั้นต้องทำบัญชีตามมาตรฐานบัญชีด้วย ฉะนั้นต้องมีการวางระบบบัญชี มีนักบัญชี มีคนตรวจสอบบัญชีและรับรองบัญชี เพื่อให้ถูกต้องและเป็นไปตามกฎ ข้อบังคับของกฎหมาย ดังนั้นธุรกิจนิติบุคคลจะต้องมีข้อมูลบัญชีที่น่าเชื่อถือในแต่ละธุรกรรม เพราะจะช่วยทำให้ธุรกิจรู้สภาพปัจจุบันของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุน, ผลกำไรและขาดทุน ทำให้ผู้บริหารหรือเจ้าของธุรกิจแก้ปัญหาได้ตรงจุด นอกจากนี้การทำบัญชียังทำให้ธุรกิจมีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือนำไปใช้ขอสินเชื่อจากธนาคารได้
ส่วนธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดานอกจากจะมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประเภทที่ 5, 6, 7 และ 8 ตามธุรกิจของตนเองแล้ว ควรจัดทำรายงานเงิดสดรับจ่ายด้วย เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลทางด้านการเงินของธุรกิจ
การรับผิดชอบในหนี้สินของธุรกิจ
แน่นอนว่าเจ้าของธุรกิจบุคคลธรรมดาต้องความเสี่ยงไปคนเดียวเต็ม ๆ เนื่องจากเป็นธุรกิจของตนเองที่ไม่มีผู้อื่นร่วม ส่วนธุรกิจนิติบุคคลไม่ใช่ไม่มีความเสี่ยง แต่เป็นประเภทธุรกิจที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า เนื่องจากกิจการนั้นแยกจากเจ้าของให้เห็นอย่างชัดเจน ผู้ถือหุ้นก็จะรับหน้าภาระหนี้สิ้นแค่ในส่วนของตัวเองเท่านั้น
อย่างไรก็ตามการทำธุรกิจรูปแบบใดก็ตามมีความเสี่ยงและรายละเอียดที่แตกต่างกัน คุณต้องเลือจดทะเบียนบริษัทหรือทำธุรกิจให้เหมาะสมที่สุด เพราะถ้าอะไรที่มากเกินไปมันก็ไม่ใช่ง่าย ๆ อะไรที่น้อยเกินไปก็ไม่ได้ การประกอบธุรกิจเราจำเป็นต้องดูหลาย ๆ อย่างทั้งธุรกิจที่ทำ รายได้ ต้นทุน และอื่น ๆ อีกมากมาย ปรึกษาเรื่องบัญชีและการทำภาษีได้ที่ ARAC สำนักบัญชีคุณภาพที่พร้อมให้บริการทุกธุรกิจอย่างครอบคลุม