Logo-สำนักงานบัญชี-ARAC
ความแตกต่างของมาตรฐานการบัญชี ภาษี เรื่องของรายได้ รายจ่ายทางบัญชี ภาษี
อัปเดตล่าสุด : 15/06/2023
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องจัดทำบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานบัญชี ยิ่งต้องนำรายได้อย่างกำไรสุทธิมาคำนวณภาษี จะต้องมีการปรับปรุงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามกฎหมายภาษีก่อน

            เป็นที่ทราบกันดีว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องจัดทำบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานบัญชี ยิ่งต้องนำรายได้อย่างกำไรสุทธิมาคำนวณภาษี จะต้องมีการปรับปรุงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามกฎหมายภาษีก่อน ซึ่งการปรับปรุงนั้นก็มีขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อน เนื่องจากความแตกต่างของมาตรฐานการบัญชีและภาษี ในการรับรู้ทั้งรายได้และรายจ่าย

            โดยมันก็มีความต่างด้านบัญชีและภาษีตรงที่ว่า รายได้ทางบัญชีนั้นไม่ใช่รายได้ทางภาษี เราไม่สามารถนำรายได้ทางบัญชีมาเป็นรายได้ทางภาษีได้เลย เพราะรายการบางอย่างเป็นรายการบัญชีแต่ก็ไม่ได้ถูกนับว่าเป็นรายได้ภาษี ส่วนรายการบางอย่างก็ไม่ใช่รายได้ทางบัญชี แต่เป็นรายได้ทางภาษีก็ได้ เขาถึงเรียกว่า รายได้ทางบัญชีไม่รับรู้แต่ถือเป็นรายได้ทางภาษีนอกจากรายได้แล้วยังมีเรื่องของรายจ่ายทางบัญชีที่ม่ถือเป็นรายจ่างทางภาษีอีกด้วย โดยรวม ๆ แล้วความต่างจะมีดังต่อไปนี้

            1. รายได้ทางบัญชีไม่ได้เป็นรายได้ทางภาษี

            2. ไม่ได้เป็นรายได้ทางบัญชีแต่ถือเป็นรายได้ทางภาษี

            3. รายจ่ายทางบัญชีไม่ถือเป็นรายจ่ายทางภาษี

            4. ไม่เป็นรายจ่ายทางบัญชีแต่ภาษีถือเป็นรายจ่าย หรือถือเป็นรายจ่ายมากกว่าที่จ่ายจริง

            ในส่วนของรายจ่ายที่หักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้มากกว่าที่จ่ายจริง ในทางบัญชีจะรับรู้รายจ่ายตามหลักฐานการจ่ายจริงเพียงเท่านั้น ในทางภาษีจึงต้องทำการปรับปรุงกำไรสุทธิทางภาษี โดยทำการหักรายจ่ายเพิ่มตามที่กฎหมายภาษีอนุญาต รายจ่ายในทางภาษีที่หักได้มากกว่าหนึ่งเท่าของที่จ่ายจริงมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงระยะเวลาที่ภาครัฐจะมีมาตรการให้มีการจ่ายเงินประเภทใดก็จะมีกฎหมายให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีโดยให้หักรายจ่ายได้มากกว่าจ่ายจริงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

            ส่วนรายจ่ายสำหรับการบริจาค เพื่อการศึกษานั้น ตามพระราชกฤษฎีกาประกาศให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่บริจาค สามารถหักเป็นรายจ่ายได้สองเท่า ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 713) พ.ศ. 2563 บัญญัติให้การบริจาคเพื่อการศึกษาของนิติบุคคลสามารถหักเป็นรายจ่ายได้สองเท่าสำหรับการบริจาคในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม ที่ผ่านมา และการบริจาคต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้

            - ต้องบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็คทรอนิกส์ (e-Donation)

            - สถานศึกษาที่บริจาคต้องเป็นสถานศึกษาของรัฐ หรือโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงโรงเรียนนอกระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน รวมถึงสถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ

            - สามารถนำรายจ่ายบริจาคเพื่อการศึกษาข้างต้น รวมกับเงินบริจาคเพื่อสาธารณกุศลการศึกษา การกีฬาตามหักรายจ่ายทางภาษีอื่น ๆ แล้ว แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย เพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามกฎหมายภาษี

            นอกจากการให้หักเป็นรายจ่ายได้สองเท่าในด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วเพื่อเป็นการจูงใจให้มีการสนับสนุนการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงบัญญัติให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์สำหรับการบริจาคเงิน หรือทรัพย์สินให้แก่สถานศึกษาในกรณีดังกล่าวอีกด้วย

บริการ
ข่าว
Copyright © 2025 A.R. Accounting & Consultant Co., Ltd. All Right reserved. Privacy Notice  Privacy Policy  Cookies Policy