Logo-สำนักงานบัญชี-ARAC
การคำนวณเงินบำนาญ ประกันสังคมมาตรา 39 คำนวณยังไง
Date : 06/08/2021
ผู้ประกันตนมาตรา 39 รู้หรือไม่? วิธีการคำนวณเงินที่เราจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม ต้องคำนวณอย่างไร ถึงจะรู้ว่าเราจะมีเงินบำนาญเท่าไหร่?

        ขอเกริ่นก่อนว่า ‘กองทุนประกันสังคม’ คือหลักประกันสำหรับลูกจ้างที่มีรายได้จะต้องจ่ายเพื่อสมทบเงินประกันสังคมของตนเองเป็นประจำทุกเดือน นอกจากเงินที่พนักงานต้องจ่ายทุกเดือนแล้วยังมีเงินสมทบจากนายจ้างอีกด้วยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด

        นอกจากผู้ประกันตนจะสามารถใช้ประกันสังคมในการเข้ารับการรักษาอาการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุจากโรงพยาบาลที่เราได้เลือกไว้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ยังสามารถเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่นค่าทันตกรรม ค่าคลอดบุตร เงินชดเชยกรณีว่างงานหรือเสียชีวิต ทั้งนี้ผู้ประกันตนที่ได้จ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือนสามารถ แต่ในกรณีของผู้ประกันตนมาตรา 39 เมื่ออายุมากขึ้นหรือใกล้ถึงวัยเกษียณอายุอาจสงสัยว่าจะได้รับเงินชราภาพประกันสังคมหรือไม่ ก็คือสามารถทำการคืนเงินชราภาพผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้ โดยจะใช้หลักการคำนวณเดียวกันกับมาตรา 33 เพียงแต่ว่ารายได้เฉลี่ยสูงสุดที่จะนำมาคิดอยู่ที่ 4,800 บาท

        ดังนั้นถ้าลาออกจากงานประจำแล้วมาส่งมาตรา 39 ต่อจะทำให้ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนลดลงไปเรื่อยๆ ใครจะเปลี่ยนจากผู้ประกันตนมาตรา 33 มาเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 เพื่อแลกกับสิทธิรักษาพยาบาลต่อไปหรือไม่

คำนวณเงินบำนาญ ประกันสังคมมารา 39 ยังไง

  • เป็นผู้ที่มีอายุ 55 ปีบริบูรณ์
  • ต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 180 เดือน กรณีย้ายงาน มีช่วงเวลาที่ไม่ได้จ่ายเงินประกันสังคมแต่รวมกันต้องถึง 180 เดือน
  • ความเป็นผู้ประกันตนมีความสิ้นสุดลง

สูตรคำนวณ : ฐานเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย x 20%  (แต่ฐานเงินเดือนของมาตรา 39 คือ 4,800 บาท) จ่าย 180 เดือนขึ้นไป ได้รับโบนัสเพิ่มอีกปีละ 1.5%

      เช่น จ่ายมาตรา 33 มา 180 เดือน แล้วลาออกมาต่อ มาตรา 39 อีก 60 เดือน

      วิธีการคำนวณ

  1. 4,800 x 20% = 960 บาท
  2. (60 เดือน / 12) x 1.5% x 4,800 บาท = 360 บาท

       รวม  960 + 360 = 1,320 บาท

ในกรณีที่จ่ายมาตรา 39 ไม่ถึง 60 เดือน นำฐานเงินเดือนมาเฉลี่ยกับ มาตรา 33

         วิธีการคำนวณ 

          (15,000 x 40) + (4,800 x 20) / 12

          = จะได้ฐานเงินเดือนเฉลี่ยออกมาเป็น 11,600 บาท

       รวม 11,600 x 20% = 2,320

บริการ
ข่าว
Copyright © 2024 A.R. Accounting Consultant Co., Ltd. All Right reserved. Privacy Notice  Privacy Policy  Cookies Policy